วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

[Graphic pen art]วาดอะไรก็ได้สไตล์ชาวพุทธ (มาฆปูรณมี 2019)

นมัสการ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ


กลับมาอีกครั้งในรอบปีของเอนทรีวาดรูปที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างในช่วง "มาฆปูรณมี" หรือ "มาฆบูชา" ซึ่งเป็นภาคต่อจากเอนทรี [Graphic pen art]วาดอะไรก็ได้สไตล์ชาวพุทธ (มาฆปูรณมี 2018) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา แต่วันนี้ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เรียกได้ว่ารีบเคลียร์งานเก่า แล้วเอาเวลามาวาดผลงานชุดปัจจุบันให้ทันการทันเวลาสุดๆ กันเลยทีเดียวครับ

และที่แน่ๆ เลยก็คือ มีผลงานที่เคยทำไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ซึ่งนำมาปรับปรุงใหม่ตามทักษะการพัฒนาผลงานด้วย แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์ลายเส้นเหมือนเดิมทุกประการ ถ้าหากพร้อมแล้วก็เลื่อนลงมาดิครับ

----------------

ภิกขุษาจาร หรือ บิณฑบาตร



ตัวละครในผลงาน : สามเณรราหุล(เจ้าชายราหุล, ฮินดี : राहुल), พระโคตมพุทธเจ้า(พุทธะ), พระอานนทเถระ(พระอานนท์, ฮินดี : आनंद)

หนึ่งในกิจวัตรของเพศบรรพชิต(นักบวช)ของทุกๆ ศาสนา ซึ่งศาสนาแห่งโคตม(ตถาคต)นี่ก็เช่นกัน การดำรงอยู่ด้วยการขอ (mendicant หรือ begging) สิ่งอุปโภคบริโภคเพื่อการดำรงชีพดำรงอยู่ จากผู้ที่ศรัทธาในหลักการปฏิบัติของผู้ออกบวช ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุสู่จิตวิญญาณอันสงบสุขที่แท้จริง

----------------

เจิดจรัสบนแท่นธรรมมาส



หนึ่งในกิจวัตรของเหล่าอุบาสก อุบาสิกาในช่วงวันพระใหญ่นี้ ขาดไม่ได้เลยกับการขึ้นเทศน์ของพระสงฆ์สามเณร โดยเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนหลักธรรมคำสอนที่ได้จารึกมาตลอด 2500 กว่าปี รวมทั้งการสอดแทรกข้อคิดต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามวิถีการดำรงชีวิตที่ตั้งอยู่บนทางสายกลาง ของเหล่าอุบาสก อุบาสิกาด้วย

----------------

และมาพร้อมกับผลงานที่นำของเก่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 มาปรับปรุงใหม่ให้ได้ความสมส่วนมากขึ้น ต่างจากเมื่อ 9 ปีที่แล้วที่เคยนำไปลงในเว็บบอร์ดเกมแห่งหนึ่งตามประสาคนบ้าพลังงานศิลป์ กับมุมมองของนักบวชเพศบุรุษ-เพศสตรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "พุทธบริษัท 4" ที่เราเคยอ่านผ่านหูผ่านตามาบ้าง หรือ เคยทราบมาในคาบวิชาบังคับ(เรียน...) อย่างพระเถระ (พระภิกษุ, Bhikkhu, ฮินดี : भिक्खु) และพระเถรี (พระภิกษุณี, Bhikhuni, ฮินดี : भिक्षुणी)

ผลงานเมื่อปี พ.ศ. 2553


ผลงานปัจจุบันฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562


แถมด้วยเวอร์ชันตอนออกมาจากอุโบสถ(มุมมองพระบวชใหม่)


 

----------------

ผลงานใหม่ 2 ชิ้นงาน และเซทผลงานปรับปรุงจากปี พ.ศ. 2553 นี้ยังเพียงพอที่จะเติมเต็มในส่วนที่ขาดได้ไม่มากก็น้อยครับ เอาเข้าจริงๆ ก็ใช้เวลาที่จำกัดจากภาระประจำวันมาถ่ายทอดผลงานแนวศาสนาตามช่วงวันพระใหญ่อย่างนี้ และอย่างน้อนๆ อย่าลืมติดตามผลงานอื่นๆ ในเอนทรีฉบับต่อๆ ไปครับผม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น