วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2562

[Graphic pen art]แสบ...ซ่า...มหากาพย์ฮินดู ตอน กุมภเมลา (Kumbh Mela 2019)

โอม มหาเทวา

พบกับเอนทรีที่นำเสนอเรื่องราวของศาสนาฮินดู ผ่านผลงานวาดที่แทรกเนื้อหาสาระที่หาอ่านที่ไหนไม่ได้อย่างสั้นๆ รวบรัด กับการรวมมิตรผลงานตามเทศกาลใหญ่ๆ หรือเทศกาลบูชาเทพเจ้าในรอบเดือนมกราคม ต้นปี 2562 อย่างที่เคยทิ้งท้ายไว้ในเอนทรีตอนเดือนธันวาคม ปี 2561 ที่ผ่านมา กับเทศกาลใหญ่อย่าง "กุมภเมลา" (Kumbh Mela, ฮินดี : कुम्भ मेला) โดยในปีนี้เริ่มต้นในวันที่ 15 เดือนมกราคม และไปสิ้นสุดในวันที่ 4 เดือนมีนาคม ราวๆ 2 เดือนครึ่ง

เทศกาลนี้จะเกี่ยวข้องกับ "ตำนานน้ำอมฤต" ที่ตกกระจายไปยังเมืองทั้ง 4 บนโลกมนุษย์ หลังจากพิธีกวนเกษียรสมุทร ที่แทบจะเรียกว่าของวิเศษ(ในอุดมคติของศาสนาฮินดู)ผุดขึ้นมาจากทะเลน้ำนมเป็นว่าเล่น และหนึ่งในนั้นก็มีของวิเศษชิ้นหนึ่งที่บอกกันว่า "นี่คือน้ำศักดิ์สิทธิ์ เมื่อดื่ม/อาบแล้วจะทำให้มีกำลังอำนาจในการเอาชนะศัตรูได้สบายๆ" ซึ่งเป็นที่ต้องการของเหล่าเทวดาที่ดันไปโดนคำสาปหมู่จากฤๅษีมา(??) กับเหล่าอสูรที่ต้องการจะแกร่งขึ้นไปอีกในสงครามระหว่างเทพกับอสูร เกิดการแย่งชิงน้ำศักดิ์สิทธิ์จนเกิดตกกระจายลงไปยังโลกมนุษย์ ก่อให้เกิดตำนานหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับ "กุมภเมลา" เช่น การแบ่งภาคของพระวิษณุ การบรรเทาพิษจากนาคที่ปะปนอยู่ในน้ำทะเลของพระศิวะ นอกเหนือไปจากตำนานพระราหูครึ่งตัว กับตำนานโมหินิอวตาร

ซึ่งหยาดน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านั้นได้ตกไปยังเมืองเหล่านี้ คือ หริทวาร (Haridwar, ฮินดี : हरिद्वार) นาสิก (Nashik, ฮินดี : नासिक) อุชเชน (Ujjain, ฮินดี : उज्जैन) และในปีนี้จะเป็นที่ อัลลาฮาบัด (Allahabad, ฮินดี : इलाहाबाद) ที่นั่นจะถือว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 ที่เหล่านักบวช ผู้แสวงบุญ นักท่องเที่ยวจะมาลงสรงสนาน(อาบน้ำศักดิ์สิทธิ์) ในทุกๆ 3 ปี วนไปเรื่อยๆ และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวคร่าวๆ ของเราก่อนที่จะได้รับชมผลงานที่ทำขึ้นมาในเทศกาลใหญ่ๆ นี้เลย

-------------------

ทีมไศวนิกาย

Ohm, Nama Shivaya. (โอม นะมะ ศิวาย, ॐ नमः शिवाय) 

Om Kaalakaalaaya Vidmahe (โอม กาลากาลายะ วิทมะเห , ॐ काला-कालाय विद्महे) 
Kaalaatheethaaya Dhimahi (กาลาอะถีถายา ธีมะหิ, काला-अथीथाया धीमहि) 
Thanno Kaala Bhairava Prachodayath (ตันโน กาลไภระวาห์ ประโจทะยาต, तन्नो काल-भैरवा: प्रचोदयात) 



ทีมส่วนกลาง...

Om Chaturmukh Vidmahe (โอม จตุรมุข วิมาเฮ, ॐ चतुरमुख विधमहे) 
Hansa Rudraya Dhimahi (หรรษะ รุทรยะ ธิมาฮิ, हंसा रुद्राय धीमहि) 
Tanno Brahma Prachodayat (ตันโน พรหมา ปราโชธะยาธา तन्नो ब्रह्मा प्रचोदयात) 

Ohm, Naradaya Namah (โอม นาราทะยะ นะมะหะ, ॐ नारदय नमः) 


ทีมไวษณพนิกาย


Ohm, namoh narayanayaya (โอม นะโม นารายาณะยายะ, ॐ नमोः नारायणाय) 


และตามด้วยของแถมที่มีอยู่ในช่วงเทศกาล "กุมภเมลา" กับการเฉลิมฉลอง "ไทปูซัม" ของชาวฮินดูทมีฬในมาเลเซีย ปีนี้ (21 มกราคม 2562) จัดให้กับเวอร์ชันเดียวกันกับเทศกาลสรงสนานน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วย ทั้งพระมุรุกัน กับพระปาลานี

Om Sharavana bhavaya Namaha (ऊं शारवाना भावाया नमः)



-------------------

4 ผลงานแนวอนิเมะฮินดูที่เกี่ยวข้องกับช่วงเทศกาลดังกล่าว ต่างจากเวอร์ชันหลักๆ ที่เน้นฉากหลังเป็นท่าน้ำซึ่งอุดมไปด้วยเหล่านักบวช นักพรต ฤๅษี ที่เห็นบ่อยๆ ริมแม่น้ำคงคาที่พาราณสี ริมแม่น้ำยมุนา หรือแม่กระทั่งแม่น้ำฮูกรีในรัฐเบงกอลตะวันตก เพราะว่าวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำนั้นย่อมมีเทพเจ้าสถิตย์อยู่ตามความเชื่อนั้นๆ อยู่ดี

ดั้งนั้นผู้ชมท่านใดที่พลาดเนื้อหาที่ผ่านมา ก็สามารถกลับไปดูได้ ชวนกันมาดูเยอะๆ เพื่อต่อยอดแนวคิด หรืออยากจะติดตามผลงานใหม่ๆ ก็อย่าพลาดเช่นเคย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น