วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

[รวมมิตรเฉพาะกิจ] ตามรอยตำนานผ้าเตี่ยว ตอนที่สอง (Lore of loincloth 2)

ห่ะบัตยูวววว....


เนื้อหาของเอนทรีนี้เป็นการนำเอาเรื่องราวของ "เครื่องแต่งกายขั้นพื้นฐาน" กลับมาทำใหม่อีกครั้งหลังจากที่เคยเขียนไว้ใน Exteen เมื่อปี 2553 อาจจะมีส่วนใดส่วนหนึ่งที่ดูละเอียดอ่อน รวมถึงภาพประกอบที่นำมาใช้ แนะนำว่าดูเป็นความรู้พร้อมกับครอบครัว หรือผู้เชี่ยวชาญไปก่อนก็ได้ หรือถ้าอายุเยอะแล้วก็ไม่ว่ากัน

จากตอนที่แล้วกับเอนทรี [รวมมิตรเฉพาะกิจ] ตามรอยตำนานผ้าเตี่ยว ตอนแรก (Lore of loincloth 1) เป็นการนำมาแปล เรียบเรียง แล้วเขียนเนื้อหาขึ้นมาใหม่ตามที่เข้าใจ ตามประสบการณ์ที่มี ในรอบนี้เราจะไปรู้จักกับผ้าเตี่ยวของฝั่งญี่ปุ่นที่พบเห็นได้บ่อย ๆ ตามสื่อบันเทิง ภาพยนตร์ เกม และในประเพณีซึ่งยังมีให้เห็นในปัจจุบัน ประกอบกับเดี๋ยวนี้ยังมีไซต์รวบรวม แถมสามารถสั่งซื้อมาลองได้จากเว็บซื้อ-ขายออนไลน์ด้วย

หมายเหตุ : หัวข้อไหนที่ไม่มีรูปภาพประกอบ ก็ต้องขออภัยที่หาแหล่งต้นฉบับอ้างอิงไม่ได้ หรือถ้าจัดหามาได้แล้ว จะรีบดำเนินการเพิ่มเติมให้ในภายหลัง

-------------------

รู้จักกับผ้าเตี่ยวฟุนโดชิ (Fundoshi)

ฟุนโดชิ (ญี่ปุ่น : 褌, ふんどし) จัดว่าเป็นผ้าเตี่ยวที่ปรากฏการสวมใส่มาตั้งแต่ยุคสมัยเอโดะ (Edo period) จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รูปแบบเป็นผ้ายาวผืนเดียว (one-piece) วัสดุที่ใช้จะผลิตจากผ้าฝ้ายเป็นหลัก โดยยุคหลัง ๆ ฟุนโดชิจะมีรูปแบบใหม่ ๆ ลวดลายสวย ๆ ตัดเย็บขึ้นรูปออกมาเพื่อให้สวมใส่ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งจะอธิบายแยกย่อยต่อไป

Shitaobi Fundoshi (JP : 忍びふんどし หรือ 忍び褌)

เดิมนิยมสวมใส่กันในหมู่ผู้ชาย ตั้งแต่กรรมกรแบกหาม สารถี ชาวประมง ครอบครัวมีฐานะ นักมวยปล้ำ ไปจนถึงนักรบแนวหน้าอย่างซามูไร โดยช่วงยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟุนโดชิมีบทบาทอย่างมากในวงการทหาร ชนิดที่เรียกได้ว่านุ่งแล้วแสดงออกถึงชาตินิยมอย่างสุดโต่งมาก ช่วงมหาสงครามเอเชียบูรพานั้นก็มีหลักฐานว่า เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied P.O.W.) รวมถึงแรงงานจากชาติพันธุ์มลายูในค่ายทหารญี่ปุ่นนั้นก็สวมใส่ฟุนโดชิเป็นเครื่องปกปิดประจำกายด้วย โดยผ้าเตี่ยวฟุนโดชิก็ยังถูกเรียกว่า Jap Happy เนื่องจากส่วนใหญ่จะมาจากปัญหาขาดแคลนเครื่องนุ่งห่มจำนวนมากสำหรับแรงงานในโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ จากฝั่งไทยที่จังหวัดกาญจนบุรี จนไปถึงฝั่งเมียนมาร์ (พม่า) ที่ตันบูซายัด จนต่อมาก็ถูกขนานว่าเป็นเส้นทางรถไฟสายมรณะ อันเนื่องมาจากการล้มตายด้วยโรคไข้มาลาเรีย รวมถึงการถูกบังคับใช้แรงงานอย่างหนัก ซึ่งก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ช่วงนั้นความนิยมในการนุ่งฟุนโดชิลดลงไประยะหนึ่ง 



อิทธิพลของผ้าเตี่ยวญี่ปุ่นนี้ยังแสดงให้เห็นว่าเป็นชุดชั้นในที่มีความอเนกประสงค์ สามารถใส่ได้ทุกเทศกาล มีเทศกาลผ้าเตี่ยวซึ่งจัดขึ้นในวันเดียวกันกับกิจกรรมวาเลนไทน์ คือ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี (ญี่ปุ่น : ふんどしの日 หรือ 褌の日) รวมไปถึงประเพณีเปลือยกายบูชาเทพเจ้า (Hadaka Matsuri, ญี่ปุ่น : 裸祭り) ที่ปีหนึ่งจะจัดขึ้นทุกวันเสาร์ ช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกุมภาพันธ์ กระทั่งยุคปัจจุบันนั้นผู้หญิงก็สวมใส่ได้ โดยมาจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มอนุรักษ์ผลักดันให้กลับมาเป็นที่นิยมเช่นเดียวกัน

ประเภทย่อย ๆ ของฟุนโดชิ

จากฟุนโดชิรุ่นแรก ๆ ที่ใช้โดยนักรบซามูไร ซึ่งมีลักษณะคล้ายเอี๊ยม มีสายคล้องคอ กับปลายเชือกทั้ง 2 ฝั่งสำหรับผูกเอว จนมีวิวัฒนาการของฟุนโดชิที่แน่นอนตามกาลเวลา ตามยุคสมัยโดยแยกชนิดได้ดังนี้

- โรคุชาคุ ฟุนโดชิ (Rokushaku Fundoshi, ญี่ปุ่น : 六尺褌) ผ้าเตี่ยวแบบผืนเดียวที่มีขนาดยาวถึง 6 ชาคุ (1.8 เมตร/ 71.58 นิ้ว หรือ ตั้งแต่ 2.4 เมตร/94.48 นิ้ว ขึ้นไป) กว้าง 1 ชาคุ (30.3 เซนติเมตร/ 11.93 นิ้ว) ข้อด้อยคือมีขั้นตอนการสวมใส่ที่ยุ่งยาก กว่าจะทำให้ผ้าที่ยาวถึง 6 ชาคุ กลายมาเป็นผ้าเตี่ยวที่นุ่งเสร็จแล้ว แต่ข้อดีคือมีความรัดกุมทะมัดทะแมงมากขึ้น

Detail about rokushaku fundoshi

Detail about rokushaku fundoshi (sample fabric as printed green camouflage)

Detail about rokushaku fundoshi (front)

Detail about rokushaku fundoshi (rear)

รูปแบบการสวมใส่จะเป็นดังภาพ



How to tie rokushaku fundoshi step 01-04 [full]

How to tie rokushaku fundoshi step 05-08 [full]

และแบบละเอียดตามขั้นตอน (สวมใส่จริงโดยผู้เขียน)













แหล่งขายในไทย สามารถสั้งซื้อได้ที่ (Lazada) ลิงก์ 1, ลิงก์ 2, ลิงก์ 3 (Shopee) ลิงก์นี้

- เอชชุ ฟุนโดชิ (Etchu Fundoshi, ญี่ปุ่น : 越中褌) ผ้าเตี่ยวแบบผืนเดียวตัดเย็บขึ้นรูป ที่ถูกดัดแปลงให้สวมใส่ง่าย สะดวกรวดเร็วกว่าโรคุชาคุ ฟุนโดชิ ผืนผ้ามีขนาดยาว 100 เซนติเมตร กว้าง 34 เซนติเมตร พร้อมเชือกผูกเอว วัสดุทำจากผ้าลินิน/ผ้าฝ้าย ต้นกำเนิดอยู่ที่แถบจังหวัดโทยามะ มีลักษณะคล้ายกับฟุนโดชิรุ่นแรก ๆ แต่รูปแบบการสวมใส่จะเป็นการผูกเอว แล้วจับชายผ้าลอดระหว่างต้นขาไปด้านหน้าเพื่อปกปิดเครื่องเพศ ลอดส่วนผูกเอวขึ้นแล้วดึงขึ้นให้ตึง ก็เป็นอันเสร็จ

Detail about etchu fundoshi


Detail about etchu fundoshi (as white and black colours)

Detail about etchu fundoshi (front)

Detail about etchu fundoshi (rear)

โดยรวมแล้วฟุนโดชิชนิดนี้เป็นรูปแบบที่แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรนำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มหลัก รูปแบบการสวมใส่จะเป็นดังภาพ



How to tie etchu fundoshi step 01-05 [full]

Source : FUNDOSHI MAN フンドシマン (Shinobi brand)

แหล่งขายในไทย สามารถสั้งซื้อได้ที่ (Lazada) ลิงก์นี้ (Shopee) ลิงก์นี้

- ม็อกโกะ ฟุนโดชิ (Mokko Fundoshi, ญี่ปุ่น : 畚褌, もっこ褌) ผ้าเตี่ยวสมัยใหม่แบบผืนเดียวตัดเย็บขึ้นรูป ผืนผ้ามีขนาดยาว 70 เซนติเมตร กว้าง 34 เซนติเมตร พร้อมเชือกผูกเอว มีลักษณะใกล้เคียงกับกางเกงชั้นในแบบแทงก้า (tanga underwear) มากที่สุด สวมใส่ง่ายแค่หย่อนขาลงร่อง ดึงขึ้นสุด แล้วผูกเอวให้แน่น การใช้งานส่วนใหญ่จะเหมาะกับนักแสดงคาบูกิ และเหมาะสำหรับให้ผู้หญิงสวมใส่มากกว่า

Detail about mokko fundoshi

- คุโระเนโกะ ฟุนโดชิ (Kuroneko Fundoshi, ญี่ปุ่น : 黒猫褌) ผ้าเตี่ยวสมัยใหม่แบบผืนเดียวตัดเย็บขึ้นรูป เดินเชือกผูกเอวเพียงเส้นเดียว มีลักษณะใกล้เคียงกับกางเกงชั้นในแบบจี-สตริง (thongs or G-string underwear) มากที่สุด ผสมผสานกับการผูกเชือกแบบโรคุชาคุ ฟุนโดชิ สวมใส่ง่ายแค่หย่อนขาลงร่อง ดึงขึ้นสุด แล้วผูกขัดเอวให้แน่น

Detail about kuroneko fundoshi


Detail about kuroneko fundoshi (as printed green camouflage, front)

Detail about kuroneko fundoshi (as printed green camouflage, rear)

Detail about kuroneko fundoshi (front)

Detail about kuroneko fundoshi (rear)

- วาริ ฟุนโดชิ (Wari Fundoshi, ญี่ปุ่น : 割褌) ผ้าเตี่ยวยุคเดียวกันกับโรคุชาคุ ฟุนโดชิ มีลักษณะผ้าผืนยาวที่ถูกแหวกออกเป็น 2 เสี่ยงจนถึงตรงกลาง ลักษณะการนุ่งจะต้องมัดปมตรงกลางให้เป็นเชือกผูกเอว จนเหลือชายผ้าให้มากพอที่จะลอดผ่านระหว่างต้นขาไปปกปิดเครื่องเพศ ลอดเชือกผูกเอวแล้วดึงขึ้นให้ตึงก็เป็นอันเสร็จ

Detail about wari fundoshi

Source : neritra練虎 (**mature limit)


มาวาชิ ผ้าเตี่ยวหนาพิเศษสำหรับนักมวยปล้ำ



มาวาชิ (Mawashi, ญี่ปุ่น :  廻し, まわし) หรือ ชิเมโคมิ (Shimekomi, ญี่ปุ่น : 締め込み) ผ้าเตี่ยวแบบผืนเดียวที่มีความยาวถึง 9.1 เมตร (30 ฟุต) ความกว้าง 0.6 เมตร (60.96 เซนติเมตร / 2 ฟุต) มีน้ำหนักถึง 3.6-5 กิโลกรัม (11 ปอนด์) ผลิตจากผ้าไหม/ผ้าฝ้ายเป็นหลัก ปกตินักมวยปล้ำ (ริคิชิ/ซูโม่, Rikishi/Sumo ญี่ปุ่น : 力士/相撲) จะสวมใส่ผ้าเตี่ยวนี้ในช่วงการฝึกซ้อม และตอนลงแข่งขันจริง 

<<ดูตอนก่อนหน้า ดูตอนต่อไป>>

-------------------

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Fundoshi (Wikipedia)
Mawashi (Wikipedia)
Fundoshi For All ! 六尺褌 (Blogspot)
Japan Fundoshi Association
Japanese Wiki Corpus
まわしの締め方


2 ความคิดเห็น:

  1. แล้วFundoshiที่เขาใส่บนภาพข้างบนสุดมีเขาเรียกว่าอะไรหรอฮะเห็นเขาพันผ้าบริเวณรอบท้องด้วย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เรียกว่า ฮารามากิ (haramaki, ญี่ปุ่น : 腹巻き) คือการรัดผ้าคาดหน้าท้องหลายชั้น ซึ่งมีจุดประสงค์ในด้านการป้องกันการบาดเจ็บ ช่วยปฐมพยาบาลไม่ให้อวัยวะภายในไหลออกมา หากต่อสู้กับศัตรูด้วยดาบในสมัยนั้น และอาจหมายถึงการแสดงออกถึงความเป็นบูชิโดด้วย

      ลบ