ห่ะบัตยูวววว....
เนื้อหาของเอนทรีนี้เป็นการนำเอาเรื่องราวของ "เครื่องแต่งกายขั้นพื้นฐาน" กลับมาทำใหม่อีกครั้งหลังจากที่เคยเขียนไว้ใน Exteen เมื่อปี 2553 อาจจะมีส่วนใดส่วนหนึ่งที่ดูละเอียดอ่อน รวมถึงภาพประกอบที่นำมาใช้ แนะนำว่าดูเป็นความรู้พร้อมกับครอบครัว หรือผู้เชี่ยวชาญไปก่อนก็ได้ หรือถ้าอายุเยอะแล้วก็ไม่ว่ากัน
สำหรับ "เครื่องแต่งกายขั้นพื้นฐาน" นี้คือส่วนสำคัญที่เป็นรากฐานของการพัฒนาเครื่องนุ่งห่มของมนุษยชาติให้มีความมิดชิด รัดกุมมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน จากร่างกายที่เปลือยเปล่าไม่มีอะไรห่อหุ้ม จนมาถึงเสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่ทุกวันนี้ หากจุดเริ่มต้นจริง ๆ จะต้องเริ่มจาก "ชุดชั้นใน" แบบง่าย ๆ ที่เรียกตัวเองว่า "ผ้าเตี่ยว" เสียก่อน
หมายเหตุ : หัวข้อไหนที่ไม่มีรูปภาพประกอบ ก็ต้องขออภัยที่หาแหล่งต้นฉบับอ้างอิงไม่ได้ หรือถ้าจัดหามาได้แล้ว จะรีบดำเนินการเพิ่มเติมให้ในภายหลัง
-------------------
ผ้าเตี่ยวคืออะไร มีวิวัฒนาการอย่างไร??
ผ้าเตี่ยว (Loincloth, ลอว์น-โค้ท) คือเครื่องปกปิดร่างกายพื้นฐานที่มีลักษณะใกล้เคียงกับชุดชั้นในมากที่สุด เดิมเน้นการปกปิดเครื่องเพศส่วนหน้าเท่านั้น ไม่ครอบคลุมส่วนบั้นท้าย(สะโพก) ในยุคโบราณก่อนประวัติศาสตร์ที่ยังไม่มีวิวัฒนาการในเรื่องของคุณภาพวัสดุ แรกเริ่มนั้นทำจากการนำเอากิ่งไม้ เถาวัลย์อ่อน ๆ เศษใบไม้ใบใหญ่ ๆ บ้างก็ลอกเปลือกไม้ออกมา แยกเป็นส่วนคาดขัดเอว (belt) คล้ายเชือก กับส่วนปกปิด (genital cover) จากนั้นนำมามัดรวมกันแบบง่ายๆ เป็นชิ้นเดียวกัน ส่วนใหญ่ผู้ชายจะสวมใส่มากกว่าผู้หญิง
พอมนุษย์เริ่มมีวิวัฒนาการ มีเครื่องมือเครื่องใช้ และเรียนรู้การล่าสัตว์ ใช้ประโยชน์จากสัตว์ที่ถูกล่ามา ผ้าเตี่ยวก็เลยมีวิวัฒนาการจากเศษใบไม้เถาวัลย์ มาเป็นการแล่หนังสัตว์ตัดทำเครื่องนุ่งห่มซึ่งมีความมิดชิดมากขึ้น แต่ยังมีความดิบติดมาด้วยเพราะยังไม่มีความรู้ด้านการเย็บปักถักร้อย และเมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมใหญ่ๆ แบบชนเผ่า การเย็บปักถักร้อยแบบง่าย ๆ ก็ทำให้ผ้าเตี่ยวมีเอกลักษณ์ชัดเจนยิ่งขึ้น กระทั่งมนุษย์รู้จักการทำเกษตรกรรม ทำปศุสัตว์ มีวิทยาการผลิตวัสดุทำเครื่องนุ่งห่มจากการถักทอมากขึ้น ผ้าเตี่ยวก็ถูกพัฒนาให้ปกปิดได้ทั้งเครื่องเพศและส่วนบั้นท้าย จนแตกแขนงเป็นการพัฒนาเครื่องนุ่งห่มชนิดอื่น ๆ ไปในที่สุด
ผ้าเตี่ยวมีรูปแบบใดบ้าง??
จำแนกได้ถึง 3-4 ชนิดที่มีอยู่ในโลก ดังนี้
- แบบผืนเดียว (one-piece) มีความยาวไม่ต่ำกว่า 1.8-2 เมตร ทำจากผ้ายาวผืนแคบ ๆ หรือหนังสัตว์ทั้งตัว การนุ่งมีความยุ่งยากแต่รัดกุมแน่นหนามาก เพราะต้องอ้อมไปอ้อมมาจนสุดชายผ้า ตัวอย่างผ้าเตี่ยวแบบนี้จะมีทั้ง malo (ชนเผ่าบนเกาะฮาวาย), bahag (ชนเผ่าทางเหนือของเกาะลูซอนในฟิลิปปินส์), fundoshi (ญี่ปุ่นยุคเอโดะ-ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2), perizoma (อารยธรรมไมนอสในยุคกรีก-โรมัน) และรวมไปถึง maxtlatl จากชนเผ่ามายายุค Aztec
- แบบสองชิ้น (two-pieces, breechcloth) แยกเป็นส่วนคาดขัดเอว กับส่วนปกปิด โดยการผูกส่วนคาดขัดเอวให้แน่นกระชับก่อน แล้วสอดส่วนผ้ายาวผืนแคบ ๆ ลงด้านหลังส่วนคาดขัดเอว จนปกปิดเครื่องเพศมิดชิดพอดี เหลือชายผ้าเผื่อเอาไว้หน่อย จากนั้นลอดผ่านระหว่างต้นขาแล้วไปโผล่ที่ส่วนบั้นท้าย ลอดผ่านส่วนคาดขัดเอวอีกครั้งแล้วดึงขึ้นให้ตึง แล้วไล่เก็บชายผ้าส่วนที่เหลือให้เรียบร้อย ถือว่าเป็นอันเสร็จ ตัวอย่างที่ชัดเจนสุด ๆ คือ มีพบการสวมใส่ตามเทศกาล ซึ่งอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองในสหรัฐอเมริกา (Native-American) หรือเราชอบเรียกว่าเผ่าอินเดียนแดงนั่นเอง
- แบบสวมครอบเฉพาะเครื่องเพศ (genital sheath) ทำจากเขาสัตว์ หรือคว้านเอาไส้ในของผลไม้ที่ออกเป็นฟัก นำไปตากแห้งก่อนสวมใส่ ตัวอย่างจะมีทางฝั่งปาปัวนิวกินีที่เรียกตามชื่อชนเผ่าว่า Koteka ปัจจุบันนิยมสวมใส่เฉพาะเพศชายเมื่อมีพิธีกรรมเท่านั้น สำหรับส่วนที่ทำขึ้นด้วยโลหะนั้นจะมีชื่อว่า codpiece โดยมีรูปทรงที่เป็นกระจับ นิยมสวมใส่เฉพาะเพศชายในยุคเรอแนซ็องส์ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากแรงกระแทกในยามออกศึกสงคราม
- รูปแบบอื่นๆ ที่มีมากกว่านี้ เช่น ตะปิ้ง, จะปิ้ง, จับปิ้ง (Araimudi-Araimuti, ทมิฬ : அரைமுடி) ไคโนเดสเม (Kynodesme, กรีก : κυνοδέσμη)
รู้จักตัวอย่างแรกกับผ้าเตี่ยวบาแฮก (Bahag)
[Anime] Complete wearing of bahag. |
ปัจจุบันนิยมสวมใส่ในช่วงเทศกาลประจำเผ่าสำคัญ ๆ ที่จัดขึ้นในประเทศเท่านั้น ส่วนขนาด และวิธีการสวมใส่ที่สะดวกที่สุดก็ตามภาพด้านล่าง
Detail and basic wearing. |
How to tie bahag step 01-04 [full] |
How to tie bahag step 05-07 [full] |
ผ้าเตี่ยวแดนไกลจากเกาะไต้หวัน (Lanyu Dingziku)
[Anime] Complete wearing of Lanyu Dingzi Ku (蘭嶼丁字褲, 勇士丁字褲) / gigat. |
Detail of Lanyu Dingzi Ku (蘭嶼丁字褲, 勇士丁字褲) / gigat and basic wearing. |
หลานหยู ติงซิกุ (Lán yǔ Dīngzì kù, จีนไต้หวัน : 蘭嶼丁字褲) หยงฉี ติงซิกุ (Yǒngshì Dīngzì kù, จีนไต้หวัน : 勇士丁字褲) ติงซิไต (Dīngzì dài, จีนไต้หวัน : 丁字帶) และอีกชื่อเรียกก็คือ gigat ผ้าเตี่ยวแบบผืนเดียวอีกรูปแบบที่ไม่ค่อยพบเห็นบ่อย ๆ มากนัก น้อยครั้งเลยที่ ผ้าเตี่ยวไต้หวัน อาจจะรู้จักเฉพาะในกลุ่มเล็ก ๆ
ซึ่งคำว่า ติงซิกุ (丁字褲) เป็นการยืมความหมายของคำว่า thong (กางเกงชั้นในสายเดี่ยว) มาประสมกับ หลานหยู (蘭嶼) ก็คือชื่อเกาะทางใต้ของสาธารณรัฐจีนไต้หวัน ที่มีความหมายว่า "กล้วยไม้" (orchid) บ้างก็เอาคำว่า หยงฉี (勇士) ที่แปลว่า "นักรบ" มาใช้แทนกันได้ แต่มันก็มีความน่าสนใจคือ ลักษณะการสวมใส่นั้นใกล้เคียงกับผ้าเตี่ยวญี่ปุ่นมาก มีลวดลายประจำถิ่นชัดเจนคือ ขาวล้วนเล่นลายสีฟ้าเข้ม ขนาดยาวประมาณ 220-280 เซนติเมตร กว้างประมาณ 15-16 เซนติเมตร ส่วนมากมีแค่ผู้ชายในกลุ่มชาติพันธุ์ หยาเหม่ย/ยามิ (Yami, จีนไต้หวัน : 雅美族) หรือ ชาวต๋าอู้ (Tao, จีนไต้หวัน : 達悟族) เท่านั้นที่สวมใส่เป็นเครื่องแต่งกายประจำตัว แล้วมันก็สะดวกเวลาออกเรือไปทำการประมงท้องถิ่นได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันก็มีสวมใส่เฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญประจำเกาะเท่านั้น
How to tie Lanyu Dingzi Ku (蘭嶼丁字褲, 勇士丁字褲) / gigat, step 01-04 [full] |
How to tie Lanyu Dingzi Ku (蘭嶼丁字褲, 勇士丁字褲) / gigat, step 05-08 [full] |
ข้อด้อยของผ้าเตี่ยวชนิดนี้ก็มีอยู่จุดเดียวคือ ถ้าหากนุ่งไม่แน่นหนาพอ เวลายืดหยุ่นในกิจกรรมใด ๆ ก็ตามแต่ ส่วนหน้าจะมีโอกาสเลื่อนหลุดได้ตลอดเวลา ต้องใช้อุปกรณ์ยึดตรึงเอาไว้ให้อยู่ทรงตลอดการสวมใส่
ผ้าเตี่ยวพื้นถิ่นฮาวายแดนเสรีภาพ (Malo)
[Anime] Complete wearing of Hawaii Malo |
มาโล (Malo) เป็นชื่อเรียกผ้าเตี่ยวแบบผืนเดียวที่นิยมนุ่งห่มในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา ทั้งเผ่าคานากา เผ่าเมาลี รวมถึงเผ่าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีขนาดกว้าง 1 ฟุต (30.4 เซนติเมตร) ยาว 6-8 ฟุต (182.8 - 243.8 เซนติเมตร) ลักษณะการนุ่งการสวมใส่จะมีความซับซ้อนไม่ต่างจากผ้าเตี่ยวญี่ปุ่น แต่ส่วนใหญ่พอนุ่งจนสุดชายผ้าก็ปล่อยลอยเอาไว้ได้เลย
Detail and basic wearing. |
โดยส่วนมากผู้ชายจะสวมใส่เป็นเครื่องแต่งกายประจำตัว มีปรากฏการสวมใส่เล่นกระดานโต้คลื่น ไปจนถึงมีคนสวมใส่ไปรับใบประกาศนียบัตรจบการศึกษามหาวิทยาลัย (Hawaii News Now) และนักแสดงอย่าง Jason Momoa ก็ใส่ไปออกรายการโทรทัศน์ (Jimmy Kimmel Live, YouTube) ด้วย
นอกเหนือจากนี้ยังมีผ้าเตี่ยวที่มีลักษณะคล้ายกันอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างเช่น kabit ซึ่งนุ่งหุ่มโดยผู้ชายชาวเผ่า Mentawai (เกาะ Siberut ทางตะวันตกจากเกาะสุมาตรา, อินโดนิเซีย) ชนเผ่าอะบอริจินในประเทศออสเตรเลีย หรือรวมไปถึงชนเผ่าในป่าลึกแถบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน (อเมซอน) อีกเช่นกัน
-------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Loincloth (Wikipedia)
Bahag (Wikipedia)
Karstens Loincloth Site
Bederky Loincloths Site
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น