วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

[Graphic pen art]แสบ...ซ่า...มหากาพย์ฮินดู ตอน คืนมหัศจรรย์ทีวาลิ (Diwali 2018)

โอม มหาเทวา

ผลงานย้อนหลัง ปี 2560

พบกับเอนทรีที่นำเสนอเรื่องราวของศาสนาฮินดู ผ่านผลงานวาดที่แทรกเนื้อหาสาระที่หาอ่านที่ไหนไม่ได้อย่างสั้นๆ รวบรัด ในรอบนี้จะเข้าสู่เทศกาลแห่งแสงไฟศักดิ์สิทธิ์ "ทีวาลี" หรือ "ทีปวาลี" (Diwali, Deepavali ฮินดี : दीवाली, दीपावली) ซึ่งเป็นเทศกาลบูชาพระนางลักษมีด้วยแสงไฟอันสวยงามในยามมืดมิด แต่พอพูดแบบเข้าใจอีกนิดนึง เทศกาลนี้ก็คือเป็นวันตรุษแขก หรือวันขึ้นปีใหม่ของฝั่งฮินดูดีๆ นี่เอง

และก็มาพร้อมกับซิริส์ผลงานใหม่ประจำปี 2561 รวมถึงผลงานย้อนหลังที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลดังกล่าว ซึ่งไม่เคยนำเสนอมาก่อน ถ้าพร้อมแล้วก็เลื่อนลงชมได้ตามอัธยาศัย

------------------

Ohm, namoh narayanayaya (โอม นะโม นารายาณะยายะ, ॐ नमोः नारायणाय)
Ohm, Mahalakshmyai Namah (โอม มหาลักษมีไย นะมะหะ, ॐ महालक्ष्म्यै नमः)



ตัวละครในผลงาน : พระวิษณุ, พระนางลักษมี เวอร์ชันพิเศษสไตล์อินเดียใต้(เตลูกุ)

Jai Shri Rama (ชัย ศรีราม, जय श्री राम)

Ohm Aanjaneya Vidmahe (โอม อัญชะเนยายะ วิทมะเห, ऊँ आञ्जनेयाय विद्महे) 
Vayu Puthraya Dheemahe (วายุบุตรายะ ธีมะหิ, वायुपुत्राय धीमहि) 
Tanno Hanumat Prachodayath (ตันโน หะนุมัตตะ ประโจทะยาต, तन्नो हनुमत् प्रचोदयात्)


ตัวละครในผลงาน : หนุมาน, พระลักษณ์, พระราม, พระนางสีดา

ฉากในตำนานอย่าง ราม ธารภาร (Ram Darbar, ฮินดี : राम दरबार) ซึ่งเป็นการยืนแสดงตัวตนโดยมีหนุมานคุกเข่าพนมมือบูชาพระราม โดยมีพระลักษณ์ และพระนางสีดา ขนาบข้างราวกับเป็นรูปเคารพบูชาชิ้นหนึ่ง

Radhe Krishna (ราเธ กฤษณะ, राधे कृष्ण)
Radhe Krishna (ราเธ กฤษณะ, राधे कृष्ण)
Krishna Krishna (กฤษณะ กฤษณะ, कृष्ण कृष्ण)
Radhe Radhe (ราเธ ราเธ, राधे राधे)

Radhe Shyam (ราเธ ชยัม, राधे श्याम)
Radhe Shyam (ราเธ ชยัม, राधे श्याम)
Shyam Shyam (ชยัม ชยัม, श्याम श्याम)
Radhe Radhe (ราเธ ราเธ, राधे राधे)


ตัวละครในผลงาน : พระกฤษณะ, พระนางราธา

------------------

เทศกาล "ทีวาลี" หรือ "ทีปวาลี" เป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่สังคมคนอินเดียต่างก็มีเหมือนกัน มีทั้งความวุ่นวายกับการจับจ่ายใช้สอยก่อนเริ่มเทศกาล การบูชาเทพเจ้าที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากพระนางลักษมี และการเฉลิมฉลองที่เต็มไปด้วยแสงไฟนับร้อยนับพันในช่วงเวลา 4-5 วัน

ไม่ว่าวันขึ้นศักราชใหม่จะมาในรูปแบบคริสต์มาสทางฝั่งศาสนาคริสต์ วันตรุษจีนของฝั่งจีนแผ่นดินใหญ่ หรือแม้กระทั่งวันสงกรานต์ของกลุ่มชาติพันธุ์อุษาคเนย์ เหล่านี้คือวันขึ้นศักราชใหม่ในแบบพื้นเมือง ซึ่งต่างจากวันขึ้นศักราชใหม่แบบสากลตรงที่มีวัฒนธรรมซึ่งแตกต่างไปตามท้องถิ่น และมีเอกลักษณ์ประจำตัวที่โดดเด่นกว่าที่ใดๆ

แล้วพบกันใหม่ในเอนทรีตอนต่อๆ ไป และอย่าลืมติดตามดูเอนทรีอื่นๆ ที่ได้เขียนไว้ด้วยเช่นเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น