Bharat Mata (HI : भारतमाता, ผลงานย้อนหลังในปี 2560)
เอนทรีประวัติศาสตร์เฉพาะกิจ ที่มาพร้อมกับช่วงเวลาการเป็นเอกราชจากอังกฤษในยุคล่าอาณานิคม ซึ่งทุกปีจะมีการเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ถึง 2 วัน คือ วันประกาศเอกราชในวันที่ 15 สิงหาคม และวันที่ 26 มกราคม สำหรับช่วงเวลาของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก เพราะนั่นถือเป็น "วันชาติอินเดีย" ก็เลยมีผลงานที่ถนัดวาดมาอัพเดทให้ตามกระแสโลกกันเลย
รอบนี้จะมีผลงานอะไรที่อยากให้ได้รับชมบ้าง เชิญเลื่อนลงมาด้านล่างเช่นเคยนะ
-------------------
ขบวนพาเรดย้อนยุค
ปกติในวันชาติอินเดีย จะมีการนำรถบุพชาติตกแต่งสวยงาม ออกมาเดินขบวนยิ่งใหญ่ตลอดงาน รวมถึงการนำแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพทั้ง 3 เหล่า ออกมาร่วมขบวนด้วย ทั้งหมดมีอยู่ทุกที่ทุกรัฐ ไม่ว่าจะออกมาในแนวไหนก็มาพร้อมกับสีสันที่แตกต่างกันไปในแต่ละปี
กุศตี ต้นกำเนิดมวยปล้ำจากหนึ่งในมัลลยุทธ์
กุศตี (Kushti, HI : कुश्ती) หรือ ปหลวานี (Pehlwani, HI : पहलवानी) คือแขนงของศิลปะป้องกันตัวที่มีอยู่ในศาสตร์มัลลยุทธ์ (Malla yuddha, HI : मल्लयुद्ध) พวกนี้คือรูปแบบการต่อสู้ด้วยมวยปล้ำ ใช้ทุกส่วนของร่างกายในการล้มคู่ต่อสู้โดยไม่ใช้การชกด้วยหมัด แต่มีขนบธรรมเนียม มีกติกาเฉพาะตัวที่ไม่ต่างจากศิลปะการต่อสู้ในรูปแบบอื่นๆ ที่มีความคล้ายคลึงกันในโลก มีความศักดิ์สิทธิ์ชนิดที่ว่ามีแทรกอยู่ในมหากาพย์ฮินดูอย่าง "รามายณะ" และ "มหาภารตะ" อีกด้วย ทั้งการบูชาเทพเจ้า(ตามผลงาน) การเตรียมตัวเพื่อการฝึกฝน และจบด้วยการประลอง จนต่อยอดมาเป็นการแข่งขันกีฬาในปัจจุบัน
ดูต่อในเอนทรี : [Graphic pen art] ก้าวสู่สังเวียนเปื้อนดินแห่งศาสตร์มัลลยุทธ์ (Kushti-Pehlwani story)
การทัศนศึกษานอกห้องเรียนของนักเรียนชั้นประถม
ชุดนักเรียนที่ดูเป็นยุคสมัยใหม่ ดูเรียบร้อยมีบุคลิกดี ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากการขึ้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ (สหราชอาณาจักร) และกลายมาเป็นมาตรฐานชุดนักเรียนที่ใช้ในช่วงประถม จนถึงระดับมัธยมเท่านั้น นั่นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาที่ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม
เพราะระบบการศึกษาที่ถือเป็นพื้นฐาน มอบโอกาสให้ทุกคนได้เก็บเกี่ยวเอาความรู้ เรื่องราวประวัติศาสตร์ และสาระสำคัญต่างๆ ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ในอินเดียยังมีสถานศึกษาที่สามารถสร้างบุคคลสำคัญที่มีความต้องการได้มาก โดยมีค่าใช้จ่ายที่ถูก คุ้มค่า แม้ว่าในวงการนี้ยังมีเรื่องราวอีกด้านที่คนทั่วโลกยังเข้าไม่ถึงก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นฐานะทางสังคม ความแตกต่างของการนับถือศาสนา-ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม หรือ ความเหลื่อมล้ำอื่นๆ ที่มีอยู่ในแวดวงเดียวกัน
-------------------
รวมมิตรผลงานที่เกี่ยวข้องกับอินเดียล้วนๆ ตามที่ผู้เขียนเข้าใจ ทั้งที่ทำขึ้นมาในปีนี้ หรือนำผลงานที่ไม่เคยนำไปใช้ของปีก่อนๆ มาลงให้ได้รับชม เอาเป็นว่าประวัติศาสตร์ของประเทศอินเดียนั้นมีมุมมองทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ในสิ่งเดียวกัน ผ่านการรับชมสารคดีบ้าง จากบทความในหนังสือนิตยสารต่างๆ หรือเดินทางไปประสบด้วยตนเอง สุดท้ายของเอนทรีฉบับนี้ก็เช่นเคย อย่าลืมติดตามผลงานอื่นๆ ทางเว็บบล็อกนี้ ว่าจะมีเนื้อหาอะไรบ้าง ที่จะนำมาเสนอให้ชมกัน
การทัศนศึกษานอกห้องเรียนของนักเรียนชั้นประถม
ชุดนักเรียนที่ดูเป็นยุคสมัยใหม่ ดูเรียบร้อยมีบุคลิกดี ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากการขึ้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ (สหราชอาณาจักร) และกลายมาเป็นมาตรฐานชุดนักเรียนที่ใช้ในช่วงประถม จนถึงระดับมัธยมเท่านั้น นั่นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาที่ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม
เพราะระบบการศึกษาที่ถือเป็นพื้นฐาน มอบโอกาสให้ทุกคนได้เก็บเกี่ยวเอาความรู้ เรื่องราวประวัติศาสตร์ และสาระสำคัญต่างๆ ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ในอินเดียยังมีสถานศึกษาที่สามารถสร้างบุคคลสำคัญที่มีความต้องการได้มาก โดยมีค่าใช้จ่ายที่ถูก คุ้มค่า แม้ว่าในวงการนี้ยังมีเรื่องราวอีกด้านที่คนทั่วโลกยังเข้าไม่ถึงก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นฐานะทางสังคม ความแตกต่างของการนับถือศาสนา-ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม หรือ ความเหลื่อมล้ำอื่นๆ ที่มีอยู่ในแวดวงเดียวกัน
-------------------
รวมมิตรผลงานที่เกี่ยวข้องกับอินเดียล้วนๆ ตามที่ผู้เขียนเข้าใจ ทั้งที่ทำขึ้นมาในปีนี้ หรือนำผลงานที่ไม่เคยนำไปใช้ของปีก่อนๆ มาลงให้ได้รับชม เอาเป็นว่าประวัติศาสตร์ของประเทศอินเดียนั้นมีมุมมองทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ในสิ่งเดียวกัน ผ่านการรับชมสารคดีบ้าง จากบทความในหนังสือนิตยสารต่างๆ หรือเดินทางไปประสบด้วยตนเอง สุดท้ายของเอนทรีฉบับนี้ก็เช่นเคย อย่าลืมติดตามผลงานอื่นๆ ทางเว็บบล็อกนี้ ว่าจะมีเนื้อหาอะไรบ้าง ที่จะนำมาเสนอให้ชมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น