วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561

[Graphic pen art]วาดอะไรก็ได้ สไตล์มหาสงกรานต์ (Songkran Festival 2018)

ห่ะบัตยูวววว...ซ่าาาาาา!!

ผลงานวาดซิริส์ฤดูร้อนในปี 2561 นี้ขอเปลี่ยนบรรยากาศจากผลงานประเภท "สระว่ายน้ำ" ที่ได้นำเสนอไปเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนี้จะตรงกับช่วง "วันสงกรานต์" ที่จัดกันทุกๆ ปีในวันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน ซึ่งนั่นแหละครับเป็นหัวข้อโชว์ผลงานวาดหลักๆ ที่ตั้งใจจะนำเสนอในขณะนี้เลย 

และในเอนทรีหัวข้อดังกล่าวนี้จะมีผลงานอะไรที่เกี่ยวข้องกับ "วันสงกรานต์" บ้าง เชิญเลื่อนลงมารับชมเช่นเคยครับ

-------------------



ตัวละครในผลงาน : ท้าวกบิลพรหม(ส่วนหัว), ทุงสะเทวี, โคราคะเทวี (ถือธงอยู่ด้านขวา), รากษสเทวี (ถือธงอยู่ด้านซ้าย), มณฑาเทวี, กิรินีเทวี (สะพายสไนเปอร์), กมีทาเทวี (สะพายเครื่องดนตรีและถือพานดอกไม้), และมโหธรเทวี (ถือพานรองรับเศียรบิดา) 

ตำนานสงกรานต์นั้นเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ "แห่เศียรพระพรหมรอบเขาพระสุเมรุ" หลังจากที่บิดาของพระราชธิดาทั้ง 7 พ่ายแพ้ต่อการแก้ไขปริศนาของธรรมบาลกุมาร จนต้องยอมทำตามเงื่อนไขที่ว่านั้นคือ ตัดเศียรแล้วขึ้นพานแห่รอบแดนสวรรค์ชั้น 3 เอาเป็นว่าเรื่องราวนี้สามารถค้นคว้าหาอ่านได้ง่ายๆ ว่าที่มาแบบเต็มๆ ของเทศกาลที่เป็น "วัฒนธรรมร่วม" ในอุษาคเนย์นี้เป็นอย่างไร หาได้ไม่ยากแน่นอนครับ



ตัวละครในผลงาน : มโหธรเทวี

ธิดา (นาง) สงกรานต์ประจำปี 2561 ยืนมาอย่างนี้ต้องตะหนักถึงความไม่ประมาทในด้านทรัพย์สินซะแล้วละสินะ...

เพราะว่ามโหธรเทวีนั้น "ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาทรงจักร หัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จยืนมาเหนือหลังนกยูง เป็นพาหนะ" 

และไหนๆ เอนทรีนี้ก็เขียนขึ้นในวันที่ 15 เมษายน 2561 ซึ่งเป็นวันเริ่มศักราชใหม่ของเอเชียอุษาคเนย์ หลังจากที่ผ่านมากับการกลับไปหาบรรพบุรุษสูงอายุที่รอเราอยู่ กลับไปร่วมฉลองกับครอบครัว เพื่อนบ้าน ตลอดจนเพื่อนร่วมเดินทางที่กำลังมุ่งหน้าไปยังจุดหมายที่ต้องการ นอกเหนือจากการได้ออกมาคลายร้อนร่วมกันตามประสาผู้มีมิตรไมตรีทั้งหลายเหล่านี้



ห้ามนั่งท้ายกระบะไม่เป็นไร ลองมานั่งท้ายเกวียนสไตล์ล้านนาแทนเลย

-------------------

เอนทรีโชว์ผลงานหัวข้อ "วันสงกรานต์" นี้จะหนักไปทางตำนานท้องถิ่นเยอะมาก ถึงแม้ว่าต้นฉบับดั้งเดิมจริงๆ นั้นมีที่มาจากอินเดีย ในชื่อ "มกร ศังกรานติ" (Makar Sankranti, ฮินดี : मकर सङ्क्रान्ति) ซึ่งก็มีเป้าหมายเดียวกันคือ การเปลี่ยนศักราชตามปฏิทินสุริยคติแบบศาสนาฮินดู แต่ในเอเชียอุษาคเนย์นั้นต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากอินเดีย มาปรับให้เป็นแบบที่เป็นไปได้กับวิถีชีวิตที่อยู่กับสายน้ำ แม้กระทั่งในบ้านเราจนถึงปัจจุบัน

ไหนๆ จะถึงช่วงสุดท้ายของเอนทรีฉบับนี้แล้วก็ขอแถมผลงานที่เกี่ยวข้องกับตำนานล้านนาอีกที สำหรับ "กำเนิดเมืองใหม่แห่งอาณาจักรล้านนา" ของสามกษัตริย์ที่มาจากเชียงราย พะเยา และสุโขทัย กันสักหน่อย


(ซ้าย) พญามังราย (กลาง) พญางำเมือง (ขวา) พญาร่วง หรือ พ่อขุนรามคำแหง

แล้วพบกันใหม่ในเอนทรีฉบับต่อไปนะครับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น