นมัสการ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
เอนทรีผลงานสไตล์พุทธศาสนารอบนี้เป็นอีกภาคต่อของเอนทรี [Graphic pen art]สิบทศชาติ มหานิบาตชาดก (Dasha Jatakas Remaster 2022) ประจำเดือนพฤษภาคม ปี 2565 แต่ในปี 2566 นี้ เราจะรวบรวมเอาผลงานที่เคยผ่านมือมานับ 10-11 ปี ซึ่งเคยนำเสนอมาแล้วใน Exteen และผลงานใหม่ล่าสุดประจำเดือนตุลาคมมาลงให้รับชมกัน ซึ่งเรากำลังกล่าวถึงชาตกาลของพระโพธิสัตว์ผู้มีคุณสมบัติของ "วิริยบารมี" เริ่มต้นจากอาศรมในเมืองกาลจัมปากะ ฐานะบุตรของอริฏฐชนก ในยุคที่ประมุขโปลชนกขึ้นปกครองบ้านเมือง สู่การเดินทางย้อนกลับไปยังมิถิลานครเพื่อบรรลุจุดต้องประสงค์ แต่ก็ต้องผ่านอุปสรรคนานารูปแบบให้จงได้เสียก่อน โดยเฉพาะมหานิบาตชาติที่ 2 อย่าง "ชนกชาดก" หรือที่เรารู้จักกันในนาม "พระมหาชนก"
----------------
คำคืนมหัศจรรย์ (28 พฤษภาคม 2555)
มณีเมขลา : ลมอะไรพัดพาข้ามาที่มหาบพิตรราชฐานแห่งนี้ ไม่ได้พบเจอท่านผู้มีบุญญาธิการนานโข ตั้งแต่ข้าได้ช่วยท่านพ้นจากห้วงมหาสมุทธอันเวิ้งว้างนั้นด้วยผลบุญกุศลอันแรงกล้า เหตุใดท่านจึงได้รับคัดเลือกขึ้นสถาปณา เป็นมหาบพิตรแห่งมิถิลานครนี้เล่า??
พระชนกมหาบพิตร : ข้าพเจ้าก็มิได้แสวงหาประโยชน์อันใดอื่น นอกจากการบรรลุนิพพานในภายภาคหน้า เพียงแต่ข้าพเจ้าในนามมหาบพิตร จักต้องบริหารบ้านเมืองเป็นปึกแผ่น ดูแลราษฏรโดยใช้คุณธรรมอันควร ขอให้นึกเสียว่าข้าพเจ้าเห็นความทุกข์ยากของราษฏร เป็นความทุกข์ของข้าพเจ้า ที่ต้องการจะดำเนินให้บรรลุผลลุล่วง เป็นประโยชน์สุขโดยรวมของปวงชนทั้งหลายทั้งมวลเท่านั้นเอง
ฉากพิเศษที่ไม่มีในเนื้อเรื่องหลัก กับการปรากฎตัวของมณีเมขลาเทวี ต่อหน้าพระมหาชนก ชวนพูดคุยย้อนเรื่องราวกลับไปสู่จุดเปลี่ยนแปลงสำคัญนั้นอีกครั้ง
มณีเมขลา : ลมอันใดหนอ พัดพาข้ามาพบกับท่านในวันอุโบสถนี้ ทำไมกันที่ท่านต้องทนว่ายน้ำตลอดเจ็ดวันเล่า??
หลังจากการสวรรคตของกษัตริย์โปลชนก ทำให้มิถิลาปุระ(มิถิลานคร หรือ เมืองมิถิลา) ว่างเว้นประมุขผู้ปกครอง มีการจัดประลองหาผู้สำเร็จราชการขึ้นครองราชย์เป็นประมุของค์ต่อไป แต่กลับกลายเป็นว่าไม่มีเชื้อพระวงศ์ หรือสามัญชนผู้ใดที่ผ่านการทดสอบได้ นั่นจึงทำให้เหล่าข้าราชบริพารได้แต่งราชรถเสี่ยงทายสีขาวเทียมม้าอันสง่างาม แล้วปล่อยให้เดินทางไปหาผู้ใดก็ได้ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ประมุขโปลชนกได้สั่งเสียเอาไว้ จนกระทั่งมาเจอชายคนหนึ่งที่นอนเอกเขนกอยู่ในอุทยานหลวงแห่งนี้
จุดเปลี่ยนสำคัญของพระมหาชนก ขณะดำเนินไปยังอุทยานตามคำบอกเล่าของเหล่าข้าราชบริพาร เมื่อภายในเมืองมิถิลาปุระนี้มีต้นมะม่วงสูงใหญ่อยู่สองต้น ต้นหนึ่งมีผลพวงมะม่วงออกเต็มต้น กำลังสุกน่าลิ้มลอง ในขณะที่ต้นมะม่วงอีกต้นนั้นแทบจะไม่มีผลมะม่วงออกมาเลยแม้แต่น้อย
เอนทรีนี้เหมือนเป็นการเก็บกู้เอาเนื้อหาที่หายไป นำมาเรียบเรียงเสนอใหม่หลังจากที่เว็บ Exteen ปิดตัวลง เพราะเป็นเนื้อหาเจาะจงเฉพาะเรื่องราวที่เคยได้อ่านได้เห็นมาแล้ว แต่อยากจะมาทำให้แบบฉบับที่เป็นของตนเอง ไม่ใช่ฉบับที่มีเนื้อหาส่งเสริมเชิดชูการมีอยู่ของประมุขตามราชประเพณี (พระราชนิพนธ์) เหมือนเช่นในอดีต เพราะถึงยังไงท้ายสุดของทศชาติชาดกที่เกิดในฐานะเบื้องสูงนั้น ก็จะกลับสู่ช่วงโมกษะ สละราชบัลลังก์ออกผนวชเมื่อแก่ตัวลงอยู่ดี
ผู้หยั่งรู้ในห้วงมหาสมุทร (8 พฤษภาคม 2556)
มณีเมขลา : ลมอันใดหนอ พัดพาข้ามาพบกับท่านในวันอุโบสถนี้ ทำไมกันที่ท่านต้องทนว่ายน้ำตลอดเจ็ดวันเล่า??
พระมหาชนก : ตราบใดที่ข้าพเจ้าหยุดว่ายน้ำกลางคัน ท่ามกลางมหาสมุทรแสนจะอันตรายเหล่านี้ มิช้านานข้าพเจ้าก็อาจจะจมดิ่งสู่ห้วงมหาสมุทรเมื่อไรก็ได้ เปรียบกับมนุษย์ที่ต้องต่อสู้กับอุปสรรคอันแสนจะยากเย็น หากหยุดอยู่แค่นั้น หรือท้อถอยไม่อยากไปต่อ ก็เท่ากับว่ามนุษย์ผู้นั้นได้ตายไปแล้ว
ถึงเวลาเดินทางไปยังมิถิลาปุระ (10 ตุลาคม 2566)
หลังจากการสวรรคตของกษัตริย์โปลชนก ทำให้มิถิลาปุระ(มิถิลานคร หรือ เมืองมิถิลา) ว่างเว้นประมุขผู้ปกครอง มีการจัดประลองหาผู้สำเร็จราชการขึ้นครองราชย์เป็นประมุของค์ต่อไป แต่กลับกลายเป็นว่าไม่มีเชื้อพระวงศ์ หรือสามัญชนผู้ใดที่ผ่านการทดสอบได้ นั่นจึงทำให้เหล่าข้าราชบริพารได้แต่งราชรถเสี่ยงทายสีขาวเทียมม้าอันสง่างาม แล้วปล่อยให้เดินทางไปหาผู้ใดก็ได้ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ประมุขโปลชนกได้สั่งเสียเอาไว้ จนกระทั่งมาเจอชายคนหนึ่งที่นอนเอกเขนกอยู่ในอุทยานหลวงแห่งนี้
ลิ้มลองเสวยยอดมะม่วงโอชารส (15 ตุลาคม 2566)
จุดเปลี่ยนสำคัญของพระมหาชนก ขณะดำเนินไปยังอุทยานตามคำบอกเล่าของเหล่าข้าราชบริพาร เมื่อภายในเมืองมิถิลาปุระนี้มีต้นมะม่วงสูงใหญ่อยู่สองต้น ต้นหนึ่งมีผลพวงมะม่วงออกเต็มต้น กำลังสุกน่าลิ้มลอง ในขณะที่ต้นมะม่วงอีกต้นนั้นแทบจะไม่มีผลมะม่วงออกมาเลยแม้แต่น้อย
----------------
เอนทรีนี้เหมือนเป็นการเก็บกู้เอาเนื้อหาที่หายไป นำมาเรียบเรียงเสนอใหม่หลังจากที่เว็บ Exteen ปิดตัวลง เพราะเป็นเนื้อหาเจาะจงเฉพาะเรื่องราวที่เคยได้อ่านได้เห็นมาแล้ว แต่อยากจะมาทำให้แบบฉบับที่เป็นของตนเอง ไม่ใช่ฉบับที่มีเนื้อหาส่งเสริมเชิดชูการมีอยู่ของประมุขตามราชประเพณี (พระราชนิพนธ์) เหมือนเช่นในอดีต เพราะถึงยังไงท้ายสุดของทศชาติชาดกที่เกิดในฐานะเบื้องสูงนั้น ก็จะกลับสู่ช่วงโมกษะ สละราชบัลลังก์ออกผนวชเมื่อแก่ตัวลงอยู่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น