วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

[Graphic pen art]วาดอะไรก็ได้สไตล์ชาวพุทธ ตอน ปางประจำวันเกิด (Pose of Buddha 2023)

นมัสการ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ


เอนทรีผลงานสไตล์พุทธศาสนาฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 ซึ่งปกติก็จะมีช่วงของวันมาฆบูชาอยู่ในเดือนนี้ด้วย แต่เนื่องจากปีนี้อาจไม่ตรงกัน และเต็มไปด้วยอิเวนท์ที่อยากจะทำเยอะพอสมควร เช่น เทศกาลวาเลนไทน์ของฝรั่งเขา (14 กุมภาพันธ์) ช่วงมหาศิวราตรี (18-19 กุมภาพันธ์) เป็นต้น แต่กลับคิดว่าเราอยากสวนกระแสด้วยเนื้อหาที่อยากจะทำมานานแล้วมากกว่า กับเรื่องของ "พระพุทธรูปประจำวันเกิด" ซึ่งเป็นไอเดียที่เกิดขึ้นเมื่อทางเพจ Suryaputra Channel นำเสนอเรื่องราวนี้ออกมาในช่องทาง YouTube ตามคลิปนี้ 



กลับกลายเป็นว่าได้ตั้งปณิธานกับตัวเองเสียแล้ว ว่าจะต้องทำผลงานให้ครบถ้วน ซึ่งนับๆ ดูก็จะถึงมี 9 ปางพอดี จนกระทั่งทำออกมาสำเร็จตามที่ตั้งใจเอาไว้นั่นเอง

----------------

พระพุทธรูปประจำวันอาทิตย์ (12 กุมภาพันธ์ 2566)

พระพุทธเจ้าปางถวายเนตร - หันไปมองดูบัลลังก์ตรัสรู้จากทางทิศอีสาน

พระพุทธรูปประจำวันจันทร์ (13 กุมภาพันธ์ 2566)

พระพุทธเจ้าปางห้ามสมุทร - ลดมิจฉาทิฐิของชฎิลสามพี่น้อง

พระพุทธรูปประจำวันอังคาร (14 กุมภาพันธ์ 2566)

พระพุทธเจ้าปาง(สีห)ไสยาสน์ - อำนวยให้เทพราหูได้ใกล้ชิดพุทธองค์ ไม่ต้องก้มหน้า

พระพุทธรูปประจำวันพุธกลางวัน (15 กุมภาพันธ์ 2566)

พระพุทธเจ้าปางอุ้มบาตร - กลับสู่กบิลพัสดุ์ ชาตภูมิแห่งศากยวงศ์

พระพุทธรูปประจำวันพุธกลางคืน (15 กุมภาพันธ์ 2566)

พระพุทธเจ้าปางป่าลิไลยก์ - หลีกหนีจากความวุ่นวายในสงฆ์ (โกสมฺพิกวตฺถุ)


พระพุทธรูปประจำวันพฤหัสบดี (16 กุมภาพันธ์ 2566)

พระพุทธเจ้าปางสมาธิ - ปฐมบทศึกวสวัตตีมาร

พระพุทธรูปประจำวันศุกร์ (17 กุมภาพันธ์ 2566)

พระพุทธเจ้าปางรำพึง - พิจารณาการเผยแผ่หลักธรรมแก่สรรพสัตว์

พระพุทธรูปประจำวันเสาร์ (18 กุมภาพันธ์ 2566)

พระพุทธเจ้าปางนาคปรก - นาคราชผู้ปกป้องภัยขณะเจริญสมาธิก่อนการตรัสรู้

พระพุทธรูปสำหรับคนที่จำวันเกิดไม่ได้ (19 กุมภาพันธ์ 2566)

พระพุทธเจ้าปางมารวิชัย - บัลลังก์ของเราตถาคต มิใช่ของหมู่มารใดๆ

----------------

ทว่าเมื่อนับ หรือจัดเรียงตามพุทธประวัติ พระพุทธรูปประจำวันเกิดจะมีการสลับสับเปลี่ยนไปมา ดังนี้ วันเสาร์-->วันพฤหัสบดี-->เกตุ (จำวันเกิดไม่ได้)-->วันอาทิตย์-->วันศุกร์-->วันพุธกลางวัน-->วันจันทร์-->วันพุธกลางคืน-->วันอังคาร ซึ่งอาจจะไม่ได้ถูกต้อง 100% นัก เพราะบางเหตุการณ์ในพุทธประวัติมันมีโอกาสสลับกันไปกันมาก็ได้ อีกทั้งผลงานทั้ง 9 ชิ้นนี้พยายามแตกต่างจากตัวต้นฉบับ เพื่อให้เห็นมุมมองที่กว้างไกลออกไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น