วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564

[Graphic pen art] ก้าวสู่สังเวียนนักสู้แห่งเกรละ (Kalaripayattu story)

ห่ะบัตยูวววว...


เนื้อหาผลงานในเอนทรีนี้อาจจะดูนอกกระแสไปหน่อย แต่อยากจะถ่ายทอดถึงเรื่องราวของศิลปะการต่อสู้ของอินเดีย แต่เราจะคั่นเนื้อหาแนวนี้ด้วยการย้ายลงไปทางใต้ รัฐเกรละ สู่การถ่ายถอดเรื่องราวของศาสตร์การต่อสู้อีกรูปแบบ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูก "แบน" จากเจ้าอาณานิคมอังกฤษในสมัยนั้น ภายหลังได้รับเอกราชคืนกลับมา ศาสตร์ศิลปะการต่อสู้ดังกล่าวนี้ก็ได้ถูกรื้อฟื้นกลับมาอีกครั้ง และพัฒนามาเป็นจุดขายทางวัฒนธรรมประจำถิ่น ซึ่งตอนนี้เรากำลังพูดถึง "กลารีพายัทฑุ" (Kalaripayattu, ฮินดี : कलरीपायट्टु, ทมิฬ : കളരിപ്പയറ്റ്) ผ่านผลงานเฉพาะกิจที่ดันลื่นไหลมาจากช่วงวันโยคะโลก (World Yoga Day, 21st June) ก็เลยเป็นที่มาของการต่อยอดให้ออกมาเป็นอย่างที่เห็น

-------------------

Duet Yoga Performance 



ผลงานชิ้นแรกประจำปี 2564 ที่ทำขึ้นในวันโยคะโลก ไปๆ มาๆ ดันเลือกใช้ธีมโรงฝึกกลารีพายัทฑุ ผ่านตัวละครคู่ชายหญิงที่น่าจะตรงยุคมากที่สุด ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มบทเรียนแรกในการเตรียมร่างกายให้พร้อมเสียก่อน

The Kalaripayattu facility workout



ผลงานชิ้นที่ 2 ก็จะเข้าสู่การต่อยอดจริงๆ สู่ศาสตร์การต่อสู้ดังกล่าว กับตัวละครสูงอายุสองพี่น้องที่รับหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอน แน่นอนการบูชาเทพเจ้า การอบอุ่นร่างกายก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำเป็นประจำ ก่อนเข้าสู่การฝึกสอนในแต่ละรุ่นต่อไป

Kalaripayattu girls performance



ผลงานชิ้นที่ 3 ซึ่งจะสื่อให้เห็นว่า ศิลปะการต่อสู้ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงและเด็กก็สามารถเข้าถึงได้ถ้ามีใจรักในการเรียนรู้จริงๆ ตั้งแต่บทการสอนแรกอย่าง 

- Meithari (ฮินดี : मिथारी, ทมิฬ : മെയ്ത്താരി - การยืดหยุ่นร่างกาย) 
- Kolthari (ฮินดี : कोल्थारी, ทมิฬ : കോല്തരി - การฝึกด้วยอาวุธจำลอง) 
- Ankathari (ฮินดี : अंक्थरी, ทมิฬ : അങ്കത്തരി - การฝึกด้วยอาวุธจริง) 
- Verumkai (ฮินดี : वेरुम्कई, ทมิฬ : വെറുംകൈ - การต่อสู้ด้วยท่ามือเปล่า) 

ซึ่งก็คือหัวใจหลักของศาสตร์การต่อสู้นี้

Body enhancement




ผลงานชิ้นที่ 4 ซึ่งแยกย่อยอีกนิดกับการเตรียมร่างกายให้พร้อมในชั่วโมงเรียน Meithari ซึ่งทางเราก็ตั้งใจจะแถมให้อีกหนึ่งมุมมองของการบริหารทุกส่วนของร่างกาย เพื่อเตรียมรับภาระหนักในชั่วโมงเรียนต่อๆ ไป

-------------------

ผลงานเหล่านี้ก็เป็นการแยกออกมาจากเอนทรี [Graphic pen art] ก้าวสู่สังเวียนเปื้อนดินแห่งศาสตร์มัลลยุทธ์ (Kushti-Pehlwani story) เพราะว่ามันครบเครื่องถึงศาสตร์การรบด้วยอาวุธยุคโบราณ ท่วงท่าการต่อสู้ที่เลียนแบบมาจากสัตว์ และอาจจะมีปลีกย่อยต่างๆ เหมือนศาสตร์มัลลยุทธ์อื่นๆ ให้ได้รับชมเพิ่มเติมอีกมาก เอาไว้ถ้าเกิดคิดออก ก็จะมาทำให้ในภายหลังนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น