วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

[มะพร้าวห้าวขายสวน]เทคนิคซ่อมเมาส์ ของเก่าก็ซ่อมได้

ห่ะบัตยูวววว.....

เมื่อใดก็ตามที่เมาส์ของคุณกดลงแล้วไม่ตอบสนอง กดจนรู้สึกว่ามันไม่ทำตามที่ต้องการ หรือเคยบ้าพลังกดแรงๆ หลายทีจนกดแล้วไม่ไปให้(ในร้านเกมส์ หรืออินเตอร์เน็ตคาเฟ่จะเจอบ่อยมาก) และเหตผลอื่นๆ ตามที่นึกออก พอมันใช้อะไรไม่ได้ปุ๊บ สิ่งแรกที่ทุกคนชอบคิดก็คือ เก็บเงินซื้อของใหม่มาเปลี่ยน ยิ่งถ้าเป็นเมาส์ราคาถูกๆ ตามห้างไอที มักจะพังเร็วกว่าปกติ ทั้งๆ ที่เรามองข้ามไปว่าเมาส์ของเราสามารถเปลี่ยนอะไหล่ได้เสียด้วย

ลองมองหาเมาส์ตัวเก่าที่เคยโละทิ้งไปก่อนหน้านี้สักตัวนึง แล้วจะพบว่ายังมีชิ้นส่วนอะไหล่บางตัว สามารถถอดออกมาเปลี่ยนให้กับเมาส์ตัวโปรดของคุณได้ แล้วการซ่อมแซมก็ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแต่ต้องระวังไว้สักหน่อยก็พอ โดยเฉพาะ "หัวแร้ง"

หยิบเมาส์ตัวโปรดของคุณ กับเมาส์ตัวเก่าๆ ที่ยังพอบัดกรีแกะเอาชิ้นส่วนที่ยังมีสภาพดีออกมาใช้ได้ ยังไงคุณก็น่าจะเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เสียบปลั๊กหัวแร้งรอมันร้อนได้ที่ แล้วลงมือทำตามรูปได้เลย เรื่องภาพประกอบบางส่วนอาจจะมัวไปหน่อยเพราะถ่ายด้วยกล้องมือถือล่ะนะ


เตรียมอุปกรณ์ตามรูป รวมไปถึงเมาส์ที่เราต้องการจะซ่อม


ขันสักรู แล้วเอาฝา(หรือหน้ากาก)เมาส์ออก


จะเห็นวงจรภายในของตัวเมาส์เลย

ถ้าดูไม่ออก มีตัวอย่างด้านล่างให้ชมครับ


จุดที่เสียส่วนใหญ่จะเป็นปุ่มเมาส์ Micro Switch ก็เรียก (ปุ่มเมาส์ซ้ายจะโดนกดแรงๆ หรือคลิ๊กหนักๆ บ่อยมาก) แต่ถ้าเคยลองซ่อมครั้งแรกแล้วไม่รู้จักชิ้นส่วนนี้ เดี๋ยวจะอธิบายให้เห็น

Micro Switch เป็นสวิตซ์ประเภท "กดติด-ปล่อยดับ" แต่มีขนาดเล็กลงมาหน่อยนึง ใช้กับอุปกรณ์ในวงจรขนาดเล็ก แต่การทำงานก็ไม่ยุ่งยากมาก ลองหามัลติมิเตอร์สักตัวนึง วัดขาของ Micro Switch กันคนละขา (จะวัดขาไหนก่อนก็ได้) ปรับค่าการวัดไปที่ย่านความต้านทาน X1 แล้วลองสังเกตดูว่าเกิดอะไรขึ้น เมื่อเรากดสวิตซ์นี้แล้ว


ครับ ตามรูป เมื่อไม่มีการกดใดๆ เข็มมัลติมิเตอร์จะอยู่ที่ Infinity หรืออยู่ด้านซ้ายมือหน้าปัทม์ นั่นหมายความว่ามีค่าความต้านทานอยู่(วงจรเปิด) แต่เมื่อใดที่เรากดสวิตซ์ เข็มมิเตอร์จะเคลื่อนไปทางด้านขวามือสุดของหน้าปัทม์ แสดงถึงค่าความต้านทานเป็นศูนย์(วงจรปิด) หมายความว่าสวิตซ์นี้ทำงานแล้ว ในขณะเดียวกัน Micro Switch ที่เสียหาย เมื่อนำมาวัดค่าใดๆ ก็จะไม่มีการตอบสนอง ไม่ว่าจะกดปุ่มที่ตัวมันกี่ครั้งในขณะวัดค่าก็ตามแต่

ดังนั้น Micro Switch ชนิดนี้จึงนำมาประยุกต์ใช้เป็นปุ่มเมาส์โดยปริยายนี่ไงล่ะนะ

ซึ่งตรงนี้เราสามารถถอดเปลี่ยนได้โดยใช้เทคนิคการบัดกรีออกครับ จะบัดกรีออกอยางไรก็ดูต่อในภาพประกอบถัดไป


ย้ายเอาแผงวงจรออกไปได้เลย จะได้สะดวกขึ้น ตอนนี้อาจจะต้องพึ่งปากกาจับงาน หรือแท่นจับ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานมากขึ้น



บัดกรีออกด้วยหัวแร้ง แล้วดูดเอาตะกั่วออกด้วยแท่งดูดตะกั่ว(ที่ดูดตะกั่ว ก็เรียก) การใช้งานคือเมื่อเอาหัวแร้งจี้กับตะกั่วจนหลอมละลายแล้ว ให้เอาปลายไปจ่อ แล้วกดปุ่มทันที ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนไม่เหลือร่องรอยเก่าให้เห็น


พอเอาตะกั่วเก่าออกไปหมดแล้ว เท่านี้ก็สามารถนำชิ้นส่วนที่มีปัญหาออกมาได้


ใส่อะไหล่ใหม่ลงไปในช่องเดิมกับที่เราเอาของเก่าออกไปก่อนหน้่า ในที่นี้คือ Scroll Valiable (หรืออุปกรณ์อื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน)ตรวจสอบขั้วมันก่อนจะยัดมันลงล๊อคของมันด้วยล่ะ


เสร็จแล้วกลับด้าน บัดกรีกลับไปให้เหมือนเดิม ค่อยๆ เติมตะกั่วบัดกรีช้าๆ เพื่อไม่ให้ไหลไปโดนส่วนอื่นๆ ที่เราไม่ต้องการ อาจจะต้องเว้นระยะการบัดกรีหน่อย เพราะอุปกรณ์ที่ถูกบัดกรีก็ร้อนเหมือนกัน




เมื่่อเปลี่ยนอะไหล่ที่ต้องการเสร็จสิ้น ให้ตรวจสอบความเรียบร้อยของแผงวงจร ตัวฐานเมาส์ ฝาเมาส์ให้เรียบร้อย ก่อนจะประกอบเข้าคืน

เป็นอย่างไรบ้างครับ กับการซ่อมที่ดูแล้วพอจะเข้าใจมากขึ้นมาบ้าง แถมอะไหล่สามารถหาซื้อจากร้านขายอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป แต่พอทำเสร็จ ทดสอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองจนพอใจเมื่อไร ยังไงคุณก็จะได้เมาส์ตัวโปรดกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ประหยัดเงินซื้อเมาส์ตัวใหม่ไปได้เยอะเลยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น