นมัสการ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
เอนทรีผลงานสไตล์พุทธศาสนาฉบับเดือนกรกฎาคม 2567 เป็นเวลานานมากที่ไม่ได้มาเขียนเอนทรีลงผลงานวาดแนวดังกล่าวนี้ นับตั้งแต่ติดงานหัวข้ออื่น ๆ ตามคิว ติดงานจ้างวาด และมักจะตามกระแสไปในเดือนนั้น ๆ ซึ่งอาจจะไม่ได้แวะมาลงให้ในระยะหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ไปลงใน social media และเน้นวาดเร็ว ๆ ใช้เวลาไม่มาก เหตุนี้ผลงานวาดในเดือนดังกล่าวอาจจะไม่ได้คืบหน้ามากนัก และอาจจะออกผลงานได้ช้า อย่างไรก็ตามก็จะพยายามกลับมาออกผลงานให้สม่ำเสมอเหมือนเช่นเดิม โดยรอบนี้จะลงผลงานหัวข้อ อาสาฬหบูชา-เทศกาลเข้าพรรษา นำร่องไปก่อน และจะมาอัพเดทให้ครบถ้วน จนถึงช่วงวันพระตามปกติในเดือนนี้แน่นอน
----------------
ส่วนประกอบสุดท้ายสู่องค์ "รัตนตรัย" (20 กรกฎาคม 2567)
ผลงานแนวพุทธประวัติที่หยิบเอาวัตถุดิบที่มีอยู่แล้วมาใช้ มาทำให้เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งในภาพนั้นจะเล่าถึงช่วงหลังการตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ได้รำลึกถึงสหายร่วมบำเพ็ญเพียร ที่จะช่วยทำให้ศาสนามีความสมบูรณ์ครบสามประการ ในที่นี้ก็คือ การหวนกลับไปหากลุ่ม "ปัญจวัคคีย์"
สถานฝึกฝนลึกลับของภิกษุ ที่มีชื่อว่า 84000 (21 กรกฎาคม 2567)
ผลงานที่ทำออกมาในช่วงวันเข้าพรรษาพอดิบพอดี กับตัวละครพระภิกษุเถรวาทในอีกมุมมองหนึ่ง กับการแสวงหาหนังสือปิฏกมาอ่านทบทวนตลอดช่วงเวลา 3 เดือนต่อจากนี้
สถานที่เฉพาะสำหรับภิกษุณี ที่มีชื่อว่า 84000 (23 กรกฎาคม 2567)
อีกมุมมองหนึ่งของบุคลากรในพุทธบริษัทที่น้อยมากจะมีคนกล่าวถึง นักบวชเพศสตรีที่มีเป้าหมายเดียวกันกับเพศบุรุษ ถึงแม้จะอยู่ต่างสายการปฏิบัติก็จักได้มารวมตัวกัน ทำสังฆกรรมในช่วงเวลาเดียวกัน และอยู่จำพรรษาในสถานที่จำเพาะด้วยเช่นกัน
สถานที่เฉพาะสำหรับสามเณร-สามเณรี ที่มีชื่อว่า 84000 (27 กรกฎาคม 2567)
ผลงานทับซ้อนกับช่วงกระแสปัจจุบัน แต่เราอยากจะสวนทางหน่อยในช่วงต้นเดือนของฤดูเข้าพรรษา กับอีกมุมมองหนึ่งของทายาททางศาสนารุ่นเล็กรุ่นจิ๋ว ที่ถือศีลบวชเพียง 10 ข้อ แต่น่าเสียดายที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงด้านของนักบวชเด็กผู้หญิงมากนัก หรือว่าประเด็นแบบนี้อาจจะไปไม่ถึงมหาเถรสมาคมก็ตาม
----------------
ครบถ้วนทุกองค์ประกอบที่เรียกตัวเองว่า "รัตนตรัย" ในผลงานวาดประจำเดือนนี้ และจะแวะมาสมทบผลงานแนวศาสนาอีกนิดหน่อย ตลอดช่วงแรกเริ่มเข้าพรรษา จนกว่าจะขึ้นเอนทรีใหม่ในเดือนถัดไป ซึ่งอาจจะต้องกลับไปคิดหัวข้อก่อนว่าอยากจะไปในแนวทางไหน อย่างน้อยที่สุดก็ต้องหารูปแบบการพัฒนาผลงานเตรียมไว้ก่อน แล้วค่อยเอามาลองทำดูหากคิดว่ามันใช้ได้จริง ๆ นี่แหละ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น