วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

[มะพร้าวห้าวขายสวน]คุยเฟื่องเรื่องวิทยุสื่อสาร (walkie-talkie radio)

ห่ะบัตยูวววว...


เอนทรีนี้ไม่เกี่ยวกับการวาดรูป ไม่เกี่ยวกับเรื่องราวอันปกติสุขของชาวเว็บบล็อกทั่ว ๆ ไป กับเรื่องที่เคยเขียนเอาไว้เป็นบันทึกบน Facebook (ไปตามหาเองว่าเป็นใคร) ซึ่งเกี่ยวกับสิ่งที่มีติดตัวอยู่กับเจ้าพนักงานใด ๆ โดยมีไว้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างกันแบบสั้น ๆ ในระหว่างการปฏิบัติงาน และเราก็อาจจะได้ยินข้อความแปลก ๆ แล้วลงท้ายด้วยคำว่า "เปลี่ยน" หรือ เคยเห็นฉากการคุยวิทยุสื่อสารระหว่างกันตามสื่อบันเทิง อันนี้แหละคือเรื่องที่เราจะมาขยายความกันคร่าว ๆ จนถึงภาพรวมทั้งหมด และเราจะมาพร้อมกับสิ่งที่ต้องอ่านกันแทบตายเพื่อจะจำมันให้ครบ แล้วใช้ให้เป็น ซึ่งเรียกตัวมันเองว่า "รหัสขานวิทยุ"

หมายเหตุ : หัวข้อไหนที่ไม่มีรูปภาพประกอบ ก็ต้องขออภัยที่หาแหล่งต้นฉบับอ้างอิงไม่ได้ หรือถ้าจัดหามาได้แล้ว จะรีบดำเนินการเพิ่มเติมให้ในภายหลัง

-------------------

รู้จักกับวิทยุสื่อสาร (introduction)

วิทยุสื่อสาร (walkie-talkie radio) หรือที่เราจะได้ยินคำว่า ว. นั่นคือคำย่อของอุปกรณ์ตัวนี้ เป็นเครื่องมือสื่อสารไร้สายที่ใช้ย่านความถี่วิทยุพื้นฐานในการรับ (rx) - ส่ง (tx) คลื่นสัญญาณหากันในลักษณะ bi-directional (สื่อสารกันสองทาง) แบบสลับกันติดต่อ เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารตอนนั้นยังไม่สามารถรับ-ส่งสัญญาณได้พร้อม ๆ กัน หมายความว่าต้องจัดลำดับการรับ-ส่งสัญญาณ จนกว่าจะถึงลำดับการรับ-ส่งของเรา ถ้าไม่มีการติดต่อสื่อสารใด ๆ อีก ในกรณีที่มีการใช้งานหลายจุด 


ซึ่งเหตุนี้เองมันเป็นการสื่อสารระหว่างกันที่ใช้งานลำบาก จำเป็นต้องกำหนดกติการูปแบบการใช้งาน แถมต้องมาแบ่งย่านความถี่การใช้งานเพื่อไม่ให้ไปชนกับย่านความถี่อื่นในช่วงเดียวกัน

ย่านวิทยุสื่อสารมีกี่แบบ (radio frequency band)

จากหัวข้อด้านบนที่เกริ่นเอาไว้ ด้วยความที่ระบบวิทยุสื่อสาร จำเป็นที่จะต้องมีย่านความถี่ (frequency band) ที่กว้าง เพื่อให้รองรับปริมาณการใช้งานในเครือข่ายได้มาก แล้วไม่ไปชนกับย่านความถี่ย่อยอื่น ๆ เลยต้องจัดสรรช่วงความถี่ให้แยกออกจากกันให้มากที่สุด โดยในที่นี้ ย่านความถี่หลักที่ใช้กับระบบวิทยุสื่อสาร จะมีให้ใช้ตั้งแต่ย่าน 136-174 MHz และย่าน 245 MHz 

ย่าน 136-174 MHz เรียกว่า ว.ดำ เป็นความถี่จัดสรรไว้สำหรับหน่วยงานราชการ หรือกลุ่มวิทยุสมัครเล่น หากต้องการที่จะใช้งานย่านนี้ ต้องขอรับใบอนุญาตให้ตั้งสถานี/มีหรือใช้งาน/สมัครเป็นเจ้าหน้าที่วิทยุ จากหน่วยงาน กทช. และต้องผ่านการทดสอบเบื้องต้น จึงจะสามารถดำเนินการได้ 

ย่าน 245 MHz เรียกว่า ว.แดง เป็นความถี่จัดสรรเพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้งานได้ โดยไม่ต้องมีหรือใช้ใบอนุญาตใด ๆ และเป็นความถี่สำหรับมือใหม่หัดใช้ ว. ด้วย 

การเรียกหา/ขอติดต่อ (call or contact)


เมื่อหยิบวิทยุเพื่อเริ่มต้นการติดต่อหากัน โดยการกด P-T-T , P2T หรือ push-to-talk แล้วพูดจนกว่าจะปล่อย จากนั้นปลายทางลูกข่าย หรือแม่ข่าย จะตอบรับต่อไป สลับกันพูดคุย-รับฟังเรื่อย ๆ จนจบการติดต่อ ตรงนี้จะอธิบายขยายความเพิ่มเติมอีกหน่อย ว่ามีกระบวนการอะไรบ้าง


โดยภาพรวมคือ ระบบวิทยุสื่อสารจะกำหนดให้ตัวสถานีนั้นเป็น "แม่ข่าย" ส่วนผู้ใช้วิทยุที่อยู่ในวงเครือข่ายเดียวกัน ย่านความถี่เดียวกัน ก็จะเรียก "ลูกข่าย" ดังนั้น เมื่อต้องการที่จะเรียกหาเพื่อติดต่อธุระใด ๆ จะต้องทราบ และใช้รหัสติดต่อเฉพาะ มีนามเฉพาะตัว หรือที่เรียกกันว่า "นามเรียกขาน" ทั้งนี้ เพื่อให้มีความสะดวก และเป็นแบบเดียวกันในวงเครือข่ายนั้น ๆ มารยาทการใช้งานก็คือต้องขออนุญาตติดต่อกันก่อน (ในที่นี้คือ ว.6) เพื่อให้ทางแม่ข่ายทราบ และอนุญาตให้ติดต่อกันได้ตามวัตถุประสงค์นั้น ๆ สำหรับการติดต่อทางวิทยุในย่านดังกล่าวนี้จะมีลักษณะ...

แม่ข่าย <--> ลูกข่าย 

ลูกข่าย <--> ลูกข่าย (ต้องขออนุญาตแม่ข่ายก่อน ถึงจะสามารถติดต่อสนทนากันได้ ยกเว้นย่าน 245 MHz)

และหากจะจบการสื่อสารในครั้งนั้น ๆ ให้พูดคำว่า "เปลี่ยน" (ลูกข่าย) หรือ "ขานเวลา" (แม่ข่าย) ต่อท้าย

รายการรหัสขานวิทยุที่ใช้ และรายละเอียด (radio code command)

รหัสขานวิทยุบางชิ้นนั้นสามารถนำมาประกอบเรียงกันเป็นประโยคได้ เช่น ว.2 ว.8 ว.61 หรือเรียกให้สั้นลงอีกหน่อย คือ 2-8-61 (หมายถึง : ทราบข่าวแล้ว ขอบคุณมาก)

ว.0 : แจ้งมีคำสั่ง, ขอทราบคำสั่ง

ว.01 : แจ้งว่าอยู่ที่ทำงาน 

ว.02 : แจ้งว่าอยู่ที่พัก 

ว.03 : แจ้งว่ากำลังขับขี่ยานพาหนะอยู่ 

ว.00 : รอสักครู่, คอย 


ว.1 : ขอทราบสถานที่ (ผู้เรียก), แจ้งตำแหน่งสถานที่ปัจจุบัน ตามด้วยชื่อสถานที่ (ผู้ถูกเรียก) 

ว.2 : ทราบแล้ว, เข้าใจแล้ว (ผู้ถูกเรียก) 

ว.3 : ไม่เข้าใจ, ขอทวนอีกครั้งหนึ่ง(ผู้เรียกและผู้ถูกเรียก) 

ว.4 : ปฏิบัติภารกิจ (เป็นทางการ) 

ว.5 : ปฏิบัติภารกิจ (ลับ, ไม่เป็นทางการ) 

ว.6 : ขออนุญาตติดต่อทางวิทยุ (ลูกข่ายติดต่อหากันเอง) 

ว.7 : ขอความช่วยเหลือ, ขอความอนุเคราะห์ (ตามด้วยข้อความ) 

ว.8 : แจ้งข่าวสาร, รายงานสถานการณ์, ประชาสัมพันธ์ภายในเครือข่ายวิทยุ (ตามด้วยข้อความ) 

ว.9 : แจ้งเหตุฉุกเฉิน, มีเหตุด่วนเหตุร้าย (ตามด้วยข้อความ) 

ว.10 : หยุดอยู่กับที่พร้อมสังเกตการณ์ และสามารถติดต่อทางวิทยุได้

ว.11 : หยุดอยู่กับที่แต่ไม่สังเกตการณ์ และสามารถติดต่อทางวิทยุได้ 

ว.12 : หยุดพักโดยชั่วคราว แต่ไม่สามารถติดต่อทางวิทยุได้ 

ว.13 : ให้ติดต่อทางโทรศัพท์, แจ้งหมายเลขโทรศัพท์ 

ว.14 : เสร็จสิ้นภารกิจ, ยุติภารกิจ, ยกเลิกภารกิจ 

ว.15 : ให้ไปพบ, นัดพบ, พบบุคคลใดบุคคลหนึ่ง 

ว.16 : แจ้งทดสอบเครือข่ายวิทยุ, ทดสอบความแรงของสัญญาณ (ผู้เรียก) 

ว.16-1 : สัญญาณอ่อนมาก มีการรบกวน หรือไม่สามารถติดต่อกันได้ (ผู้ถูกเรียก) 

ว.16-2 : สัญญาณอ่อน ติดต่อกันได้แต่ไม่ชัดเจน (ผู้ถูกเรียก)

ว.16-3 : สัญญาณชัดเจนพอใช้ (ผู้ถูกเรียก)

ว.16-4 : สัญญาณแรง (ผู้ถูกเรียก)

ว.16-5 : สัญญาณแรงมาก (ผู้ถูกเรียก)

ว.17 : แจ้งพบเขตอันตราย ตามด้วยชื่อสถานที่

ว.18 : แจ้งทดสอบยานพาหนะ 

ว.19 : แจ้งปิดสถานีแม่ข่าย, แจ้งถูกปิดหรือถูกโจมตี 

ว.20 : ทำการตรวจค้น ค้นหา ตรวจสอบ หรือจับกุม

ว.21 : ออกจาก... (ระบุสถานที่) 

ว.22 : ถึง... (ระบุสถานที่ปลายทาง) 

ว.23 : ผ่านสถานที่... (ระบุสถานที่ระหว่างทางพอสังเขบ) 

ว.24 : ขอทราบเวลา, ระบุเวลา 

ว.25 : ออกเดินทางไปที่... (ระบุสถานที่ปลายทาง) 

ว.26 : งดการใช้วิทยุชั่วคราว, ติดต่อทางวิทยุให้น้อยที่สุด

ว.27 : ให้ติดต่อทางโทรพิมพ์ (โทรเลข, ปัจจุบันมีใช้น้อย) 

ว.28 : เรียกประชุม, แจ้งนัดหมายเข้าประชุม

ว.29 : แจ้งข้อราชการ, แจ้งเหตุธุระใดๆ

ว.30 : กำลังเจ้าหน้าที่ (ระบุจำนวนคน)

ว.31 : เปลี่ยนช่องความถี่เป็นช่องหลัก, ที่หมาย 1

ว.32 : เปลี่ยนช่องความถี่เป็นช่องสำรอง, ที่หมาย 2

ว.33 : เปลี่ยนช่องความถี่เป็นช่องสำรอง, ที่หมาย 3

ว.34 : เปลี่ยนช่องความถี่เป็นช่องสำรอง, ที่หมาย 4

ว.35 : แจ้งเตรียมพร้อมปฏิบัติภารกิจ

ว.36 : แจ้งเตรียมพร้อมปฏิบัติภารกิจเต็มอัตรา

ว.37 : แจ้งเตรียมพร้อมปฏิบัติภารกิจครึ่งอัตรา

ว.38 : แจ้งเตรียมพร้อมปฏิบัติภารกิจจำนวน 1 ใน 3

ว.39 : แจ้งปริมาณการจราจรหนาแน่น (ระดับ 1-5)

ว.40 : แจ้งมีอุบัติเหตุทางถนน

ว.41 : แจ้งสัญญาณควบคุมการจราจรเสีย

ว.42 : จัดนำขบวนยาว (ใช้กับรถนำเที่ยวได้)

ว.43 : จัดตั้งจุดตรวจยานพาหนะ

ว.44 : ให้ติดต่อทางโทรสาร, แจ้งหมายเลขโทรสาร

ว.45 : รายงานเหตุทั่วไปปกติ

ว.46 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.47 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.48 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.49 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.50 : เชิญร่วมรับประทานอาหาร

ว.55 : แจ้งให้อำนวยความสะดวก

ว.60 : มีญาติ หรือบุคคลมาหา

ว.61 : ขอขอบคุณ, ขอบใจ

ว.62 : สิ่งของ (ระบุชนิดด้วย)

ว.63 : บ้าน

ว.64 : ทำภารกิจส่วนตัว

ว.65 : มีภรรยามาหา (หากแม่ข่าย/ลูกข่ายเป็นสามี, ไม่เป็นทางการ)

ว.66 : ขอเข้าพบเกี่ยวกับเรื่องราชการ (เป็นทางการ)

ว.67 : ขอเข้าพบเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว (ไม่เป็นทางการ)

ว.68 : แจ้งความ, มีเหตุร้องเรียน

ว.69 : แจ้งให้ระมัดระวัง

ว.70 : ถึงแก่ความตาย (ใช้ในการรายงานสถานการณ์เหตุรุนแรง)

ว.71 : แจ้งขอพักผ่อน

ว.72 : แจ้งเฝ้าระวังเหตุอุทกภัย (ฝนตก, ระบุระดับ 1-5) 

ว.73 : บอกกล่าวด้วยความปรารถนาดี (ไม่เป็นทางการ)

ว.74 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.75 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.76 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.77 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.78 : แจ้งมีคลื่นอื่นแทรก (แม่ข่าย)

ว.79 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.80 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.81 : แจ้งติดธุระ

ว.82 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.82 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.83 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.84 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.85 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.86 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.87 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.88 : ด้วยรักและจุ๊บ ๆ (= =*, ไม่เป็นทางการ)

ว.89 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.90 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.91 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.92 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.92 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.94 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.95 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.96 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.97 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.98 : (รอเพิ่มเติมข้อมูล)

ว.99 : ห้ามยุ่งเกี่ยว, ห้ามรบกวน

ว.100 : ขอโทษ, ขออภัย

รายการรหัสแจ้งเหตุ และรายละเอียด (ราชการตำรวจ)

เหตุ 100 : เหตุทำลายทรัพย์สิน, เหตุประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน

เหตุ 111 : เหตุลักทรัพย์

เหตุ 121 : เหตุวิ่งราวทรัพย์

เหตุ 131 : เหตุชิงทรัพย์

เหตุ 141 : เหตุปล้นทรัพย์

เหตุ 151 : พบผู้ต้องสงสัยในยานพาหนะ (ตามหมายจับ-ตรวจค้น)

เหตุ 161 : เหตุมีสัตว์เข้าบ้าน (รวมสัตว์เลื้อยคลานอันตราย และมีพิษ)

เหตุ 200 : เหตุทำร้ายร่างกาย, เหตุประทุษร้ายต่อร่างกาย

เหตุ 211 : รายงานเหตุทำร้ายร่างกาย ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

เหตุ 221 : รายงานเหตุทำร้ายร่างกาย มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

เหตุ 231 : รายงานเหตุทำร้ายร่างกาย มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส

เหตุ 241 : เหตุฆาตกรรม (ฆ่าคนตาย)

เหตุ 300 : เหตุลักลอบเล่นการพนัน

เหตุ 510 : เหตุลักลอบวางระเบิด โดยพบวัตถุต้องสงสัย

เหตุ 511 : เหตุลักลอบวางระเบิด มีการระเบิดขึ้น

เหตุ 512 : เหตุลักลอบวางระเบิด ตรวจสอบแล้วไม่ระเบิด

เหตุ 600 : เหตุนักเรียนทะเลาะวิวาท

เหตุ 601 : เหตุทะเลาะวิวาท พบว่ามีการรวมกลุ่ม

เหตุ 602 : เหตุทะเลาะวิวาท มีผู้ก่อเหตุหลบหนี

เหตุ 603 : เหตุทะเลาะวิวาท มีการทำร้ายร่างกายให้ได้รับบาดเจ็บ

เหตุ 604 : เหตุทะเลาะวิวาท มีการทำร้ายร่างกายให้ถึงแก่ความตาย

เหตุ 605 : เหตุทะเลาะวิวาท มีการพกพาอาวุธระเบิด และอาวุธร้ายแรง

รายการรหัสแจ้งเหตุ และรายละเอียด (ปภ.)

เหตุ 501 : แจ้งเหตุทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุเพลิงใหม้, บริการน้ำเหตุภัยแล้ง, ตัดต้นไม้, ยกรถ 

เหตุ 502 : ขนส่งผู้ป่วย (เฉพาะทีมแพทย์ฉุกเฉิน, อาสาสมัครร่วม) 

เหตุ 503 : แจ้งเฝ้าระวังเหตุสาธารณภัย (ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ)

เหตุ 201 : เหตุเพลิงไหม้ทุ่งหญ้า เพลิงไหม้ป่า

เหตุ 202 : เหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร

เหตุ 203 : เหตุเพลิงไหม้ยานพาหนะ (ร่วมกับ ว.40) 

เหตุ 204 : เหตุเพลิงไหม้ภายในที่พักอาศัย และในชุมชน

เหตุ 205 : เหตุเพลิงไหม้อาคารเก็บวัสดุไวต่อการลุกลาม (ไวไฟ)

เหตุ 206 : เหตุเพลิงไหม้อาคารขนาดใหญ่ และอาคารสูง

-------------------

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

- http://www.bangkokradiota.com/ 

- http://www.hamsiam.com/smf/index.php?topic=53736.0 

- http://umaxshop.tripod.com/code.htm 


(เอ็นทรีนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง หากมีการแก้ไข เพิ่มเติมเนื้อหาใหม่ๆ ในโอกาสถัดไป) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น