วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

[Graphic pen art] แสบ...ซ่า...มหากาพย์ฮินดู ตอน เหินเวหา ปักษาประจัญบาน (Flying Hindu deities)

โอม มหาเทวา


พบกับเอนทรีที่นำเสนอเรื่องราวของศาสนาฮินดู ผ่านผลงานวาดที่แทรกเนื้อหาสาระที่หาอ่านที่ไหนไม่ได้อย่างสั้นๆ รวบรัด ในรอบปี 2564 นี้ขอแหวกแนวขนบธรรมเนียมกันหน่อยกับซิริส์ของ "สัตว์พาหนะประจำเทพเจ้าฮินดู" ซึ่งยกเอามาให้ชมเป็นตัวนำร่อง ซึ่งส่วนใหญ่เน้นบินได้ และแตกต่างจากปกติธรรมดาที่เราเห็นกันบ่อยๆ เพราะมีขนาดพอเหมาะที่มนุษย์เทพตนหนึ่งขับขี่ได้สบายๆ เลย

-------------------

รวมกำลังกามเทพ-รตีเทวี 


โอม กามะ ปุจิตาเย นะมะหะ (Ohm, Kama Pujitayei Namaha)
โอม รติ รติ กามะสวามี นะมะหะ (Ohm,Rati Rati Kamaswami Namaha)


ตัวละครในผลงาน
: กามเทพ, รตีเทวี

ออกไปทำภารกิจในแบบฉบับสงครามสร้างคู่รัก และอาจจะต้องปะทะกับกามเทพตนอื่นๆ ตามความเชื่อในท้องถิ่นนั้นๆ (ฉลองนักบุญวาเลนไทน์, 14 กุมภาพันธ์ 2564)


สุดขีดสปีดสรัสวตี


Ya Kundendu Tusharahara Dhavala Ya Shubhra Vastravrita (या कुन्देन्दुतुषारहारधवला या शुभ्रवस्त्रावृता)
Ya Veena Varadanda Manditakara Ya Shveta Padmasana (या वीणावरदण्डमण्डितकरा या श्वेतपद्मासना।)
Ya Brahmachyuta Shankara Prabhritibihi Devaih Sada Pujita (या ब्रह्माच्युत शंकरप्रभृतिभिर्देवैः सदा वन्दिता)
Sa Mam Pattu Saravatee Bhagavatee Nihshesha Jadyapaha॥1॥ (सा मां पातु सरस्वती भगवती निःशेषजाड्यापहा॥१॥)


ตัวละครในผลงาน
: สรัสวตีเทวี

เหิรเมฆาประกาศยอดปัญญาบารมี!! (วสันต์ปัญจมี, 16 กุมภาพันธ์ 2564)


ปลดปล่อยสู่สภาวะโมกษะ


Ohm, namoh narayanayaya (โอม นะโม นารายณะยะ, ॐ नमोः नारायणाय)


ตัวละครในผลงาน
: พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์

หนึ่งในฉากภาพจำของตำนานภัควัตปุราณะ เมื่อช้างตัวหนึ่งถูกทำร้ายโดยจระเข้ (มกร) ซึ่งจริงๆ แล้วช้างตัวนี้ชื่อ "คเชนทรา" เป็นผลมาจากคำสาปของฤๅษีอคัสยะในอดีตชาติมาก่อน

-------------------

ผลงานนำร่องในลักษณะ "เทพเจ้าฮินดูประทับบนพาหนะ" นี้มันเป็นอะไรที่ต้องลองสักครั้ง เพราะในแต่ละตำนานนั้นจะระบุไว้ชัดเจนว่า เทพเจ้าองค์นั้นมาพร้อมกับพาหนะรูปแบบใด มีลักษณะเฉพาะอย่างไร ซึ่งตีความให้ละเอียดขึ้นจากที่ปรากฏในรูปวาดของศิลปินชาวอินเดีย หรือ ปรากฏให้เห็นบนภาพสลักในโบราณสถาน ตรงนี้ก็ถือว่านี่คือครั้งหนึ่งที่เราวาดให้ออกมาในลักษณะนี้มาแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น